\ ( - ^ - ) / การจัดระเบียบบริหาราชการแผ่นดิน



ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินไทย
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการจัดระเบียบราชการแผ่นดิน
 -   
ความหมายของการจัดระเบียบราชการแผ่นดิน 
      การจัดระเบียบการปกครอง หรือระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอาจมีความแตกต่างกันไปแล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละประเทศแต่ละรัฐนั้นๆ ซึ่งในแต่ละประเทศก็จะคำนึงถึงความเป็นอยู่ของสมาชิกในสังคม ลักษณะของสังคม ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องดังต่อไปนี้
๑. ประชาชนในประเทศนั้นๆ มีการศึกษาเป็นอย่างไรและมีแบบความประพฤติและมีความ
ต้องการในเรื่องการบริหารเป็นประการใด มีรูปแบบการเมืองการปกครองเป็นอย่างไรรวมไปถึงการมีพฤติกรรมและมีความต้องการให้มีการปกครองหรือการบริหารในลักษณะหรือรูปแบบการปกครองเป็นประการใด
๒. ประวัติศาสตร์ของประเทศนั้นๆ ที่มีมาในอดีตและเหตุการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
๓. ลักษณะภูมิประเทศของประเทศนั้นๆซึ่งรวมทั้งลักษณะดินฟ้าอากาศลักษณะทรัพยากร
 
ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมต่างๆ
๔. ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และศาสนา
๕. เจตนาของผู้มีอำนาจในการจัดระเบียบบริหารจะดำเนินการปกครองไปเป็นใน รูปแบบ
ใดลักษณะใด ทิศทางใด โดยระบบการเมืองหรือโดยอำนาจของกลุ่ม สุจริตหรือมีอะไรแอบแฝงอยู่อย่างไรก็ดีในการจัดระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ถือเป็นหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจไม่ว่าจะเป็นไปในรูปแบบใด การบริหารหรือการปกครองของรัฐก็ดี จะต้องกระทำเพื่อมุ่งให้เห็นถึงวัตถุประสงค์หลักสำคัญ 3 ประการคือ
 
๑. ป้องกันและรักษาประเทศของตนให้ดำรงไว้ซึ่งอิสรภาพ คือ ความเป็นเอกราช
๒. ให้ประชาชนพลเมืองของตนได้รับความสันติสุข โดยวิธีระงับทุกข์บำรุงสุข
๓. ให้ประเทศชาติของตนเองเจริญรุ่งเรืองในการปกครองประเทศนั้นจะมีอำนาจอยู่ ๒ ระดับคือ ระดับสูงสุดคืออำนาจของรัฐบาล
 ( Government ) หรือคณะรัฐมนตรี ( Council of ministers ) ซึ่งอยู่ในฐานะผู้อำนวยการการปฏิบัติโดยวางนโยบายไว้ อำนาจในการปกครองระดับนี้เราเรียกว่า อำนาจบริหาร ( Executive Power ) ระดับรองลงมาคือ อำนาจของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งดำเนินการปฏิบัติ ( Administer ) ให้เป็นไปตามนโยบาย อำนาจระดับนี้มีกำหนดไว้ชัดเจน ในกฎหมายปกครอง ( Administrative Law ) หรือ เรียกว่าอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินนั่นเอง
ความหมายของการบริหารราชการแผ่นดิน
     การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน หมายถึง การจัดระเบียบในการปกครองประเทศซึ่งจำเป็นต้องมีองค์กรในการบริหารกิจการของรัฐ โดยกำหนดว่ามีการจัดระเบียบองค์กรบริหารไว้อย่างไร มีหน้าที่อะไร และมีอำนาจความรับผิดชอบอย่างไร ทั้งนี้เพื่อจะได้ดำเนินการบริหารหรือปกครองประเทศไปตามนโยบายของราชการ
 
การบริหารราชการ หมายถึง การดำเนินกิจการงานเพื่อบริการให้สนองความต้องการของประชาชนให้ได้รับความสะดวก รวดเร็ว และถูกต้องในระบบงาน โปร่งใส ตรวจสอบได้รวมทั้งทำให้ประชาชนเกิดความพึงพอใจในการรับบริการ
การบริหารราชการแผ่นดิน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒๕๔๐ มาตรา ๒๐๑ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินสามสิบห้าคนประกอบเป็นคณะรัฐมนตรีมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน
ข้อนี้แสดงว่า "คณะรัฐมนตรี" ( Council of Ministers หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Cabinet ) มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งตรงกับมาตรา ๑๘๒ ที่บัญญัติว่า "สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินโดยบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้" เป็นอันว่าฝ่ายหนึ่งบริหารราชการแผ่นดินอีกฝ่ายหนึ่งทำหน้าที่ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินอาจสรุปว่าระบบรัฐบาลแบบรัฐสภา ( Parliamentary System ) ของไทยทำงานประสานกันเช่นนี้
การบริหารราชการแผ่นดินตามนัยของรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ นั้น หมายถึงการบริหารราชการแผ่นดินสี่ประการคือ ประการแรกการกำหนดนโยบายในการปกครองประเทศ ( Policy Formation ) ตามมาตรา ๒๑๑ "คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดิน ต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาโดยไม่มีการลงมติความไว้วางใจ ทั้งนี้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเข้ารับหน้าที่" และมาตรา ๘๘ ประการที่สองการดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนด ( Policy implementation ) ตามมาตรา ๒๑๒ "ในการบริหารราชการแผ่นดินรัฐมนตรีต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และนโยบายที่แถลงไว้ตามมาตรา ๒๑๑ และต้องรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎรในหน้าที่ของตน รวมทั้งต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อรัฐสภา ในนโยบายทั่วไปของคณะรัฐมนตรีประการที่สามการแก้ปัญหาต่างๆ ( Problem solving) โดยรัฐบาลมีไว้เพื่อแก้ปัญหาให้ประเทศชาติและประชาชน และประการสุดท้ายคือการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ( Law enforcement ) รัฐสภาเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการออกกฎหมาย คณะรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับการใช้ให้เป็นไปตามกฎหมาย เครื่องมือสำคัญในการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย คือ เจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะตำรวจ และพนักงานอัยการซึ่งเป็นกลไกหรือกระบวนการยุติธรรมขั้นต้นก่อนที่จะส่งไปยังศาล
๕.๑.๒ กระบวนการในการบริหารแผ่นดิน
กระบวนการในการบริหารแผ่นดินของไทย ในการบริหารแผ่นดินมีผู้ทำหน้าที่บริหารคือนายกรัฐมนตรี ๑ คนและคณะรัฐมนตรี จำนวนไม่เกิน ๓๕ คน ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา ๒๑๑,๒๑๒ และมาตรา ๒๑๓ กล่าวโดยสรุปคือต้องบริหารราชการแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญ และนโยบายที่แถลงไว้และต้องรับผิดชอบหน้าที่ของแต่ละคนรวมทั้งรับผิดชอบหน้าที่ร่วมกันทั้งคณะดังนั้นการบริหารราชการแผ่นดินกระทำได้ ๓ กระบวนการคือ
๑. การบริหารราชการแผ่นดินโดยคณะรัฐมนตรี
๒. การบริหารราชการแผ่นดินโดยนายกรัฐมนตรี
๓. การบริหารราชการแผ่นดินโดยรัฐมนตรี
อย่างไรก็ดี การบริหารราชการแผ่นดินตามนัยของรัฐธรรมนูญนั้นในการบริหารราชการต้อง
ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๒๗ และมาตรา ๒๖๘ ข้อนี้แสดงว่าอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีจะใช้อำนาจจำกัดหรือตัดทอนสิทธิและเสรีภาพของบุคคลโดยขัดรัฐธรรมนูญมิได้ และต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญการฝ่าฝืนอาจเป็นเหตุให้ต้องรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นคดีแพ่งคดีอาญาหรือคดีปกครองหรืออาจต้องรับผิดชอบทางการเมืองต่อสภา และในที่สุดอาจมีการส่งเรื่องให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ดำเนินการในการตรวจสอบ การใช้อำนาจของคณะรัฐมนตรี กระบวนการนี้เรียกว่า "Judicial Review"
กระบวนการบริหาร
กระบวนการบริหาร เป็นกระบวนการกำหนดนโยบายและเป้าหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ และนำนโยบายไปดำเนินการโดยข้าราชการประจำ ในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์จำเป็นต้องมีแผนงานและโครงการ มารองรับนโยบายและบางครั้งก็จำเป็นต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบและหลักเกณฑ์ที่มีผลใช้บังคับทั่วไปหรือบางครั้งก็ต้องออกพระราชกฤษฎีกา หรือพระราชกำหนด และบ่อยครั้งก็ต้องมีมติคณะรัฐมนตรี
พระราชกำหนดมีฐานะเป็นกฎหมาย เช่นเดียวกับพระราชบัญญัติ แต่พระราชกฤษฎีกา แม้จะมีฐานะเป็นกฎหมายก็มีศักดิ์ต่ำกว่าพระราชบัญญัติ ส่วนมติคณะรัฐมนตรีไม่มีฐานะเป็นกฎหมายแต่มีผลบังคับใช้ของฝ่ายบริหาร กฎกระทรวง และระเบียบข้อบังคับ ที่แต่ละกระทรวงสามารถใช้เป็นเครื่องมือการบริหารได้ เราจึงนำความเข้าใจกับบทบาทของเครื่องมือการบริหารได้ เราจึงควรนำความเข้าใจกับบทบาทของเครื่องมือการบริหารเหล่านี้ และกระบวนการพิจารณา
๑. การกำหนดนโยบาย นโยบายมีหลายระดับตั้งแต่ระดับชาติ ที่เรียกว่านโยบายของรัฐระดับรัฐบาล ระดับกระทรวง ระดับกรม ฯลฯ ไปจนถึงระดับท้องถิ่น และชุมชน รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้กำหนดแนวทางนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐไว้จากมาตรา ๗๑ ถึงมาตรา ๘๙ ที่ทุก
รัฐบาลจะต้องยึดถือเป็นกรอบหลักของการกำหนดนโยบายของรัฐบาล นอกจากนั้นก็ยังมีนโยบายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติซึ่งเป็นระยะกลาง (๕ ปี) ที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเป็นกรอบของการดำเนินงาน ฉะนั้นทุกรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ซึ่งมักจะเป็นรัฐบาลกับนโยบายของพรรคอื่นที่ร่วมรัฐบาลเพื่อหลอมรวมเป็นนโยบายของรัฐบาลผสม โดยยึดกรอบของนโยบายแห่งรัฐ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดังกล่าว นโยบายของรัฐบาลนี้ต้องเสนอต่อรัฐสภาตามมาตรา ๒๑๑ ก่อนเข้าบริหารงานนี่คือ หลักของการดำเนินงานคร่าว ๆ ในการกำหนดนโยบาย หากจะถามต่อไปว่า "นโยบาย" คืออะไร คำตอบง่าย ๆ ในเบื้องต้นก็คือนโยบายมีลักษณะใกล้เคียงกับเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ เช่น มาตรา ๗๑ กล่าวว่ารัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช และบูรณภาพแห่งอาณาเขต แนวนโยบายดังกล่าวนี้จึงมีลักษณะของการบริหารแผ่นดิน ว่าจะต้องทำเช่นนั้นและหากวิเคราะห์นโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อสภาวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๐ จะเห็นได้ว่าข้อที่ ๑ ได้ขยายความตามมาตรา ๗๑ ของรัฐธรรมนูญไว้ดังนี้ "รัฐบาลนี้มุ่งเทิดทูน และพิทักษ์รักษาไว้ซึ่ง สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เอกราชและบูรณภาพแห่งอนาคต โดยจะดำเนินการดังนี้..."ก็ต้องต่อด้วยรายการต่าง ๆ ซึ่งเป็นรายละเอียดของแนวดำเนินการซึ่งก็คือนโยบายของรัฐบาลเช่น "เร่งรัดการออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ กฎหมายอื่น ๆ กฎและข้อบังคับ......" (ดูคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัยนายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภาวันพฤหัสบดีที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๐)
นโยบายมีจุดกำเนิดอย่างไร นโยบายการบริหารประเทศส่วนหนึ่งมีจุดกำเนิด จากปัญหาในสังคม หรือวิกฤติการณ์ในสังคมที่รัฐบาลต้องแก้ไข อีกส่วนหนึ่งก็มีจุดกำเนิดจากเจตนารมณ์ของคนในสังคมและเป้าหมายบั้นปลายของคนในสังคมที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างผาสุก มีความเจริญรุ่งเรืองมีความเป็นอันดับหนึ่งอันเดียวกันในชาติ การที่จะให้เกิดผลดังกล่าวนี้ก็จะต้องวางนโยบาย และมาตรการในด้านต่าง ๆ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย คำถามต่อไปก็คือ หากการกำหนดนโยบายมีวัตถุประสงค์เช่นนั้น ทำไมจึงเกิดการถกเถียงกันมากมายในเรื่องนโยบาย คำตอบก็คือ มนุษย์มีความเห็นชอบไม่เหมือนกันเสมอไปว่าจะแก้ปัญหาของสังคมแต่ละปัญหาอย่างไร หรือจะเดินไปสู่เป้าหมายของความเจริญมั่นคงของประเทศด้วยสมาชิกอันหลากหลายในสังคมก็ย่อมมีความคิดแตกต่างกันเช่นนั้น ฉะนั้นการเมืองแบบมีพรรค จึงเป็นเรื่องที่พรรคจะแข่งขันกันนำเสนอข้อคิดเชิงนโยบายที่แตกต่างกัน เพื่อให้ชนชาติมีทางเลือก และให้ความเห็นชอบ ยกตัวอย่าง เช่น การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ในยุคสมัยโลกาภิวัตน์บางพรรคอาจแก้ไขปัญหาโดยเน้นนโยบายการค้าเสรี การเงินเสรี การแข่งขันกันอย่างเสรี ซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจไทยต้องพึ่งพาตลาดการเงิน และตลาดสินค้าต่างประเทศมากขึ้น แต่อีกพรรคหนึ่งอาจจะเลือกนโยบายสายกลางที่ไม่เน้นการพึ่งพามากจนเกินไปนัก แต่เน้นการพึ่งตนเองให้มากขึ้น เป็นต้น
๒. การออกพระราชบัญญัติ
รัฐธรรมนูญในประเทศประชาธิปไตย จะกล่าวเป็นหลักการเสนอว่าสถาบันนิติบัญญัติเป็นองค์กรหลัก มีอำนาจสูงสุดในการพิจารณา และให้ความเห็นชอบในตราพระราชบัญญัติ โดยให้คณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนหนึ่งสามารถเสนอร่างกฎหมายได้ แต่ในเชิงปฏิบัติสถาบันบริหาร คือรัฐบาลมักเป็นผู้ริเริ่มเสนอกฎหมายเหล่านั้นเป็นส่วนมากเพราะรัฐบาลที่เข้ามาบริหารราชการแผ่นดิน จะประสบปัญหาหลายประการ และประการสำคัญ คือ ปัญหาด้านการวางเงื่อนไข กฎเกณฑ์เพื่อให้บังเกิดการบังคับใช้ทั่วไป เช่น รัฐธรรมนูญกำหนดเรื่องระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ บังคับให้การใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นหน้าที่กำหนดเรื่องบทบาทของพรรคการเมืองในระบบการปกครองของไทย และกระบวนการกำกับควบคุมดูแลการเลือกตั้ง และพรรคกันเอง ฉะนั้นรัฐบาลจึงต้องดำเนินการร่างกฎหมาย

ประกอบรัฐธรรมนูญเหล่านี้ให้เสร็จตามที่รัฐกำหนด
พระราชบัญญัติ จึงเป็นเครื่องมือการบริหารที่สำคัญที่สุด การออกพระราชบัญญัติเพื่อดำเนินงานตามนโยบายเป็นวิธีการที่จะทำให้นโยบายมีความชัดเจน ไม่เลือกปฏิบัติและมีความต่อเนื่องนอกจากนั้น กระบวนการผ่านร่างพระราชบัญญัติเป็นกระบวนการที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งฝ่ายรัฐบาลละฝ่ายค้านร่วมกันพิจารณาทำให้ระบบและกระบวนการวางเงื่อนไขกฎเกณฑ์ เพื่อการปฏิบัตินั้นเป็นกระบวนการที่โปร่งใสมีเหตุผลมากยิ่งขึ้น พระราชบัญญัติที่ฝ่ายบริหารริเริ่ม มักจะมีกำเนิดจากกระทรวงที่เป็นเจ้าของเรื่อง โดยฝ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีซึ่ง คณะรัฐมนตรีจะส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกากลั่นกรอง ก่อนนำเสนอประธานสภาผู้แทนราษฎร เพราะคณะกรรมการกฤษฎีกาคือ คณะบุคคลที่เป็นเชี่ยวชาญด้านการร่างกฎหมายของรัฐบาล กระทรวงร่างกฎหมายจึงเป็นกระบวนการต้องการทั้งผู้รู้ด้านเนื้อหาสาระของกฎหมาย และผู้รู้ด้านเทคนิควิธีของการเขียนกฎหมาย และต้องใช้เวลาเตรียมเสนอ และเวลาพิจารณาของฝ่ายบริหาร และนิติบัญญัติที่ยาวนาน
๓. การออกพระราชกำหนด
พระราชกำหนดมีศักดิ์เป็นกฎหมายเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติ แต่ให้ใช้ในกรณีที่ฝ่ายบริหารมีความจำเป็นเร่งด่วนต้องออกมาตรการบังคับใช้ทั่วประเทศมาตรา ๒๑๘ ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐ กำหนดไว้ดังนี้ "มาตรา๒๑๘ ในกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องกันปัดภัยพิบัติสาธารณะ พระมหากษัตริย์จะทรงตราพระราชกำหนดให้ใช้บังคับดังเช่น พระราชบัญญัติก็ได้ นอกจากนั้น มาตรา ๒๑๘ ยังกำหนดไว้อีกว่า หลังจากประกาศพระราชกำหนดแล้วให้คณะรัฐมนตรีเสนอพระราชกำหนดต่อรัฐสภาโดยไม่ชักช้า ในโอกาสแรกทำได้ถ้าหากรัฐสภาไม่เห็นชอบด้วยพระราชกำหนดนั้นก็เป็นอันตกไป แต่ไม่กระทบกระเทือนต่อกิจการที่เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกำหนด สรุปพระราชกำหนดเป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหารที่ใช้ยามฉุกเฉิน สามารถประกาศได้ก่อนที่จะให้รับสภาเห็นชอบ แต่เมื่อประกาศใช้แล้วต้องนำมาให้รัฐสภาเห็นชอบภายหลังตามเงื่อนไขของมาตรา ๒๑๘ ดังกล่าว ถ้ารัฐสภาไม่เห็นชอบรัฐบาลก็ควรจะลาออกตามมารยาท เพราะเท่ากับเสี่ยงขอใช้อำนาจพิเศษไปแล้ว ถ้ารัฐสภาเห็นชอบพระราชกำหนดนั้นก็จะกลายสภาพเป็นพระราชบัญญัติ
๔. การออกพระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา คือ กฎหมายอีกประเภทหนึ่งอาจเรียกว่ากฎหมายของฝ่ายบริหาร ที่มีศักดิ์ต่ำกว่าพระราชบัญญัติ เพราะพระราชกฤษฎีกาในเรื่องใดได้ จะต้องกำหนดไว้ในกฎหมายเสียก่อนเรียกว่ามีกฎหมายให้อำนาจไว้ พระราชกฤษฎีกามักจะใช้กับการบริหารของหน่วยงานราชการ เช่น การออกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งกรมต่าง ๆ ของกระทรวง ฯ การออกพระราชกฤษฎีกาเรื่องระเบียบของการใช้จ่ายเงิน
๕. มติคณะรัฐมนตรี 
เครื่องมือบริหารที่ใช้มากที่สุด ในประเทศไทยคือ มติคณะรัฐมนตรี ซึ่งแม้ว่าจะไม่ใช่ พระราชบัญญัติ แต่ก็มีเหตุผลบังคับใช้ในฝ่ายบริหารรวมถึงข้าราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม แต่การออกมติคณะรัฐมนตรีจะขัดกับพระราชบัญญัติไม่ได้ เพราะคณะรัฐมนตรีต้องบริหารงานไปเท่าที่มีฟ้องร้องได้การบริหารราชการแผ่นดินของไทยในอดีตอาจไม่จำเป็นต้องมี พระราชบัญญัติเสมอไป เช่น การบริหารการศึกษาไทยใช้แผนการศึกษาชาติเป็นหลักของนโยบายในการบริหารกฎหมายการศึกษาที่มีอยู่เป็นกรอบแนวดำเนินงานมักจะเป็นกฎหมายเฉพาะด้าน เช่น กฎหมายการประถมศึกษา ซึ่งมีบทว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถาบันการศึกษา เช่น กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถาบันราชภัฎ กฎหมายที่ควบคุมดำเนินงานของเอกชนในการจัดการศึกษาแต่กล่าวโดยทั่วๆ ไปในวงการศึกษาไทยมักไม่ค่อยจะมีกฎหมายการศึกษาที่กำหนดนโยบาย และมาตรการหลัก ๆ ในการจัดการศึกษา ในลักษณะของกฎหมายแม่บทอย่างไรก็ตามในอดีตกระทรวงศึกษาธิการก็ไม่มีปัญหาในการบริหาร ทั้งนี้ก็สามารถใช้มติ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นเครื่องมือการบริหารได้หากเป็นประเทศที่มีระบบการกระจายอำนาจให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการจัดการศึกษา เช่น อังกฤษ ความจำเป็นที่จะต้องออกกฎหมายการศึกษามีมากขึ้น แต่ไทยมีระบบการปกครองที่ภารกิจของกระทรวงครอบคลุมการปฏิบัติงานถึงพื้นที่ มติคณะรัฐมนตรีก็สามารถนำมาเป็นบรรทัดฐานในการควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว มติคณะรัฐมนตรีจึงมีความสำคัญต่อการบริหารแผ่นดินของไทยมาก
การพัฒนาระบบราชการไทยตอนการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
นับตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๔๕ ที่ได้มีการปฏิรูประบบราชการครั้งสำคัญตามกรอบแนวทางซึ่งกำหนดไว้ในมาตรา ๓/๑ ของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ ว่า "การบริหารราชการตามพระราชบัญญัติต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น การกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น การกระจายอำนาจการตัดสินใจ การอำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชนทั้งนี้โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลงาน"
"การจัดสรรงบประมาณ และการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ต้องคำนึงถึงหลักการตามวรรคหนึ่ง"
เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆบรรลุผลตามเจตนารมณ์ดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจึงได้มีการกำหนดกติกาใหม่ของการบริหารราชการแผ่นดินขึ้นในรูปแบบของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยมุ่งผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิธีคิดและวิธีการทำงานรวมทั้งวัฒนธรรมการทำงานของบุคลากรภาครัฐ
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ได้กำหนดขอบเขตแบบแผนและวิธีปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี(Good Governance)โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง(Citizen centered) ซึ่งการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีก็คือการปฏิบัติราชการเพื่อบรรลุเป้าหมายหลักอย่างน้อย ๗ ประการตามที่ได้กำหนดไว้ในหมวด ๑ ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ อันประกอบด้วย
๑. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
๒. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
๓. มีประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในเชิงภารกิจรัฐ
๔. ไม่มีขั้นตอนปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
๕. มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
๖. ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
๗. มีการประเมินปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
ทั้งนี้ในพระราชกฤษฎีกาฯดังกล่าวได้มีการขยายความและเสนอแนะวิธีการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายไว้ในหมวดต่างๆ กล่าวคือ
หมวด ๒ การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
เป็นการปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของ
ประชาชน ความสงบและความปลอดภัยของสังคมส่วนรวมตลอดจนประโยชน์สูงสุดของประเทศ โดยมีวิธีการดำเนินการต่างๆที่กำหนดไว้เป็นหลักทั่วไปให้ส่วนราชการนำไปเป็นแนวทางในการปรับใช้เช่น ในการกำหนดภารกิจแต่ละเรื่องต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประเทศ ความสงบและความปลอดภัยของสังคมส่วนรวม ความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนทั่วไป โดยก่อนการดำเนินภารกิจจะต้องศึกษาวิเคราะห์ถึงผลดีผลเสียและวางระบบหรือกลไกการทำงานที่ชัดเจน โปร่งใส ซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจสอบได้รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นและสำรวจความพึงพอใจของสังคมเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมเสมอ
หมวด ๓ การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ส่วนราชการต้องมีแผนปฏิบัติงานเป็นเครื่องมือ
กำกับการทำงานก่อนเริ่มลงมือทำงาน โดยในแผนปฏิบัติงานดังกล่าว ต้องมีรายละเอียดแสดงขั้นตอน ระยะเวลา และงบประมาณ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของภารกิจและตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจอีกทั้งระบบการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติงานนั้น
นอกจากนี้ยังต้องบริหารราชการแบบบูรณาการเพื่อให้ภารกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานได้มีการปฏิบัติงานร่วมกันอย่างสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันรวมไปถึงการกำหนดให้ส่วนราชการพัฒนาความรู้ในหน่วยงานของตนเพื่อให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมออีกด้วย
ในหมวดนี้ยังได้วางระบบราชการแนวใหม่ที่สร้างความรับผิดชอบให้ผู้บริหารงานโดยการจัดทำความตกลงในการปฏิบัติงานหรือคำรับรองการปฏิบัติราชการเพื่อให้การกำกับการปฏิบัติราชการประสบความสำเร็จและเกิดผลสัมฤทธิ์ของงาน
สาระสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การกำหนดแผนบริหารราชการโดยกำหนดให้มีการจัดทำแผนบริหารราชการแผนดิน ๔ ปี ซึ่งเป็นการนำนโยบายของรัฐบาลมาแปลงเป็นแผนที่สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐตามรัฐธรรมนูญและแผนพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ จากนั้นก็ถ่ายทอดออกมาเป็นแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการต่างๆ ที่สอดรับกับแผนการบริหารราชการแผ่นดินทั้งแผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี
หมวด ๔ การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจภาครัฐ
เป็นการกำหนดวิธีการทำงานของส่วนราชการให้มีประสิทธิภาพและสามารถวัดความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจได้โดยมีการดำเนินการที่สำคัญอาทิการทำงานที่เน้นหลักความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้หลักความคุ้มค่าสามารถวัดผลได้ซึ่งจะเป็นข้อมูลสำคัญในการนำมาปรับปรุงวิธีการทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไปหลักความรับผิดชอบเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติราชการของผู้รับผิดชอบในเรื่องต่างๆ
หมวด ๕ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ในหมวดนี้ได้กำหนดหน้าที่ให้ส่วนราชการปฏิบัติเพื่อลดระยะเวลาในการพิจารณาการสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติหรือการปฏิบัติราชการที่มีผลโดยตรงต่อประชาชนให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นอาทิ การกระจายอำนาจการตัดสินใจ โดยมีหลักเกณฑ์การควบคุม ติดตาม และกำกับดูแลการใช้อำนาจและความรับผิดชอบของผู้รับมอบอำนาจและผู้มอบอำนาจ การจัดทำแผนภูมิแสดงขั้นตอนและระยะเวลาการทำงานแสดงให้ประชาชนได้รับรู้และสามารถตรวจดูได้ จอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงการจัดตั้งศูนย์บริการร่วมโดยการรวบรวมงานบริการต่างๆของรัฐมาให้บริการ ณ จุดบริการเดียว เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนและลดระยะเวลาและขั้นตอนในการขอรับบริการต่างๆ
หมวด ๖ การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ
เป็นการให้ส่วนราชการตรวจสอบหน่วยงานของตนเพื่อปรับปรุงภารกิจให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปหรือสอดคล้องกับการปฏิบัติงานตามนโยบายหรือแผนปฏิบัติราชการด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่ การทบทวนภารกิจอยู่เสมอว่าภารกิจใดจำเป็นต่อการดำเนินการต่อไป หรือควรปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ยกเลิก ตามความเหมาะสม รวมทั้งการทบทวนกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงภารกิจ
หมวด ๗ การอำนวยความสะดวกและการตรวจสอบความต้องการของประชาชน
เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการรวดเร็วขณะเดียวกันก็ให้ภาครัฐได้ตรวจสอบความต้องการของประชาชน รับรู้สภาพปัญหา และแก้ไขปัญหาได้โดยมีวิธีการดำเนินการที่สำคัญๆเช่น การกำหนดระยะเวลาการปฏิบัติงาน และประกาศให้ประชาชนและข้าราชการได้รับทราบเพื่อแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการบริหารงานอย่างเป็นระบบการจัดระบบสารสนเทศเพื่อให้ การปฏิบัติราชการมีความสะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้นและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้มากขึ้น นอกจากนี้ส่วนราชการต้องจัดระบบรับฟังและจัดการกับข้อร้องเรียนต่างๆซึ่งเป็นปัญหาจากการให้บริการและนำมาเป็นข้อมูลในการปรับปรุงการปฏิบัติราชการให้มีความเหมาะสมและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้
อีกประการหนึ่งที่ได้กำหนดไว้ในหมวดนี้ก็คือ การเปิดเผยข้อมูลโดยส่วนราชการจะต้องเปิดเผยข้อมูลการปฏิบัติราชการ

รวมทั้งงบประมาณรายจ่าย การจัดซื้อจัดจ้างให้สาธารณชนรับทราบเพื่อให้เกิดความโปร่งใส

ในการปฏิบัติงาน
หมวด ๘ การประเมินผลการปฏิบัติราชการ
เพื่อวัดผลการปฏิบัติราชการทั้งในเรื่องผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และเรื่องระดับคุณภาพและความพึงพอใจโดยในการประเมินผลการปฏิบัติราชการนั้นมีวิธีการต่างๆ ได้แก่ การประเมินผลโดยคณะผู้ประเมินอิสระเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของผู้รับบริการและความคุ้มค่าในภารกิจการประเมินประสิทธิภาพในการบังคับบัญชาของแต่ละระดับและการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการรวมทั้งการจัดสรรเงินรางวัลเพื่อเป็นบำเหน็จความชอบในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและจูงใจให้ส่วนราชการพัฒนาการปฏิบัติราชการให้มีคุณภาพและเกิดประสิทธิภาพต่อไป
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖นับเป็นก้าวสำคัญของการกำหนดแนวทางการปฏิบัติราชการสมัยใหม่อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรโดยวางหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติราชการให้มีความชัดเจนสามารถวัดผลได้ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีโดยยึดเอาประโยชน์สุขของประชาชนเป็นที่ตั้งเพื่อให้การบริหารราชการตอบสนองความต้องการและยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง "ร่วมพัฒนาระบบ ยกระดับบริการ เพื่อรอยยิ้มของประชาชน"
 
( ข้อมูล ก.พ.ร. Http: www.opdc.go.th สายด่วน ๑๗๘๕ และ "การพัฒนาระบบราชการไทย" มติชน (ปีที่ ๒๙ ฉบับที่ ๑๐๒๗๑วันจันทร์ที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๔๙)หน้า ๓.)
๕.๒ โครงสร้างของการจัดระเบียบราชการแผ่นดิน
โครงสร้างของการจัดระเบียบราชการแผ่นดินหรือเรียกอีกอย่างว่า หลักการบริหารราชการแผ่นดิน ในการ การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทย ได้กำหนดให้มีการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินไทยแบ่งออกเป็น ๓ ประการคือ
๑. ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
๒. ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
๓. ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
ในการจัดระเบียบการปกครองหรือการจัดระเบียบราชการแผ่นดินมีหลักทั่วไป๒ประการ คือ
 
หลักการรวมอำนาจปกครอง ( Centralization ) และ หลักการกระจายอำนาจการปกครอง ( Decentralization) หลักการรวมอำนาจปกครองเป็นหลักที่วางระเบียบราชการการบริหารโดยกำหนดให้อำนาจในการปกครองรวมไว้ที่ส่วนกลางได้แก่กระทรวง ทบวง กรมและให้ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของส่วนกลางซึ่งขึ้นตรงต่อกันตามลำดับ ขั้นการบังคับบัญชา เป็นผู้ดำเนินการปกครอง ตลอดทั้งอาณาเขตของประเทศ ส่วนหลักการกระจายอำนาจปกครองเป็นวิธีที่รัฐมอบอำนาจปกครองบางส่วนให้ท้องถิ่นหรือองค์กรที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของราชการส่วนกลาง จัดทำบริการสาธารณะบางอย่างโดยมีอิสระตามสมควร ไม่ต้องขึ้นอยู่ในบังคับบัญชาของส่วนกลางเพียงแต่อยู่ในความควบคุมเท่านั้นไม่ได้เข้าไปบังคับบัญชาสั่งการ ดังที่ใช้หลักการรวมอำนาจแต่เพียงแบบเดียวก็ได้ เช่น ประเทศไทย เคยใช้หลักรวมอำนาจปกครองไว้ที่ส่วนกลางอย่างเดียวในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ หรือจะใช้แบบผสมทั้งสอง อย่างแต่จะใช้การจัดระเบียบบริหารราชการโดยกระจายอำนาจการปกครอง ให้แก่ท้องถิ่นอย่างเดียว โดยไม่มีการรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลางเลยย่อมทำไม่ได้ เพราะจะเป็นการทำลายเอกภาพของรัฐดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการบริหารส่วนกลาง รวมอำนาจการปกครองเพื่อควบคุมดูแลแนะนำประสานงานระหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่น และกระจายอำนาจบางอย่างให้กับท้องถิ่นตามหลักการปกครองตนเองแบบประชาธิปไตย การกระจายอำนาจส่วนท้องถิ่นนี้จะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความเชื่อถือในปรัชญาแห่งประชาธิปไตย ถ้าศรัทธาประชาธิปไตยมากก็กระจายมาก ถ้าเลื่อมใสแต่น้อยก็กระจายแต่น้อย
การจัดระเบียบบริหารราชการของไทย เมื่อพิจารณาตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินไทยแล้วจะเห็นได้ว่าใช้หลักการรวมอำนาจปกครองผสมกับหลักการกระจายอำนาจปกครอง กล่าวคือ ในการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางและระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคใช้หลักการรวมอำนาจปกครอง ราชการบริหารส่วนกลางจัดเป็นสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนภูมิภาคจัดเป็นจังหวัด อำเภอ ในการปกครองและวินิจฉัยสั่งการบางส่วนจากส่วนกลางมาดำเนินในเขตการปกครองต่างๆ ของประเทศ ซึ่งเป็นการจัดระเบียบการบริหารราชการตามหลักการแบ่งอำนาจการปกครอง ( Decentralization ) อันเป็นส่วนหนึ่งของหลักการรวมอำนาจปกครอง การจัดระเบียบการรวมอำนาจให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
 
สำหรับการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ใช้หลักการกระจายอำนาจปกครอง ซึ่งมีการจัดตั้งหน่วยการปกครองท้องถิ่นในรูปต่างๆ เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล การปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา เป็นต้น หลักการกระจายอำนาจมีเกณฑ์ศึกษาคือมีการแยกหน่วยงานออกเป็นองค์กรอิสระจากองค์กรของราชการบริหารส่วนกลาง และคำว่า"นิติบุคคล" มีความหมายเป็นนิติบุคคลในกฎหมายมหาชนที่ต้องมีงบประมาณและเจ้าหน้าที่ของตนเอง มีความเป็นอิสระในการบริหาร มีการเลือกตั้ง และเป็นองค์กรส่วนท้องถิ่นตามหลักการกระจายอำนาจการปกครองแบบ Autonomy คือการปกครองมีอิสระที่จะดำเนินกิจการตามอำนาจหน้าที่ทั้งนี้จะต้องไม่ขัดกับกฎหมาย และหลักที่ใช้ในการจัดระเบียบราชการบริหารของประเทศไทยนั้นเมื่อ พิจารณาตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ กับฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วจะเห็นได้ว่าในการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินไทย ใช้หลักการรวมอำนาจการปกครองผสมกับหลักการกระจายอำนาจการปกครอง
๕.๒.๑ การจัดระเบียบการบริหารราชการส่วนกลาง
การจัดระเบียบบริหารราชการ ไม่ว่าจะเป็นโดย หลักการรวมอำนาจนั้นจำเป็นต้องมีระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์รวม และแหล่งอำนวยการในการบริหารประเทศ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางนี้จึงเป็นลักษณะของการรวมอำนาจการปกครอง
 
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ๑. สำนักนายกรัฐมนตรี
๒. กระทรวง หรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง
๓. ทบวงซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
๔. กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัด
นายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง
สำนักนายกรัฐมนตรีมีฐานะเป็นกระทรวงส่วนราชการตาม ๑,,๓ และ ๔ มีฐานะเป็นนิติบุคคล ดังจะอธิบายพอเข้าใจคือ
๑. สำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักนายกรัฐมนตรีมีฐานะ เป็น กระทรวง การจัดตั้งหรือยุบสำนักรัฐมนตรีต้องทำเป็น
พระราชบัญญัติเหมือนอย่างกระทรวงแต่แบ่งส่วนราชการ ภายในกรมหรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมให้ทำเป็นพระราชกฤษฎีกา
มาตรา ๗ สำนักนายกรัฐมนตรีมีส่วนราชการดังต่อไปนี้
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
๑. กรมประชาสัมพันธ์
๒. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
๑. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
๒. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
๓. สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
๔. สำนักงบประมาณ
๕. สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
๖. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
๗. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
๘. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักนายกรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ ราชการทั่วไปเกี่ยวกับของ นายกรัฐมนตรี
และคณะรัฐมนตรี กิจการเกี่ยวกับการทำงบประมาณแผ่นดินและราชการอื่นที่มีกฎหมายกำหนดเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี หรือส่วนราชการซึ่งสังกัดนายกรัฐมนตรี หรือราชการอื่นๆ ซึ่งมิได้อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงไดกระทรวงหนึ่งโดยเฉพาะ
อำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี
อาจแยกอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีได้เป็น ๒ ฐานะคือ
๑. เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักนายกรัฐ
มนตรีโดยตรง
๒. อำนาจหน้าที่ในฐานะที่เป็นหัวหน้ารัฐบาลกล่าวคือ
๒.๑ กำกับการบริหารราชการโดยทั่วไป ทั่งราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วน
ท้องถิ่น ที่จะยับยั้งการปฏิบัติราชกาไดๆที่ไม่ขัดต่อนโยบายหรือมติของคณะรัฐมนตรีตลอดจนการที่จะสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการส่วนกลางส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น
๒.๒ มอบหมายให้นายกรัฐมนตรี กำกับการบริหารราชการของกระทรวงกระทรวงหนึ่ง
หรือหลายกระทรวง
๒.๓ บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่ง ซึ่งสังกัดกระทรวงทบวงกรม
๒.๔ สั่งให้ข้าราชการ ซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม ใดมาสำรองราชการสำนักนายกรัฐ
มนตรีโดยจะให้ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิมหรือไม่ก็ได้
๒.๕ แต่งตั้งข้าราชการซึ่ง สังกัดกระทรวง ทบวง กรม ใดไปดำรงอีกกระทรวง ทบวง กรม
หนึ่ง โดยให้รับเงินเดินตามที่สังกัดเดิมแต่ถ้าเป็นตำแห่นงตั่งแต่อธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไปต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
๒.๖ แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒเป็นประธานที่ปรึกษา หรือคณะที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีหรือตั้งราชการเพื่อปฏิบัติราชการไดๆก็ได้
๒.๗ แต่งตั้งข้าราชการเมืองให้ปฏิบัติราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี
๒.๘ ดำเนินการอื่นๆ
 
ในการปฏิบัตินโยบายตามอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้รับผิดชอบราชการสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลจะเห็นได้ว่านายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ดังนี้
๑. มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารได้ทุกกระทรวงทบวงกรม แม้ว่าจะมีรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบอยู่ชั้นหนึ่งแล้วก็ตาม
๒. มีอำนาจในการลงโทษข้าราชการพลเรือนผู้มีหน้าที่บริหารราชการทางวินัยได้ ตั้งแต่
ปลัดกระทรวงตลอดจนถึงเสียมนพนักงาน
๒. กระทรวง
 
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ จากประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๙ ตอนที่ ๙๙ ก ลงวันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมี พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
มาตรา ๕ ให้มีกระทรวงและส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวงดังต่อไปนี้
๑. สำนักนายกรัฐมนตรี
๒. กระทรวงกลาโหม
๓. กระทรวงการคลัง
๔. กระทรวงการต่างประเทศ
๕. กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา
๖. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
๗. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๘. กระทรวงคมนาคม
๙. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๑๐. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
๑๑. กระทรวงพลังงาน
๑๒. กระทรวงพาณิชย์
๑๓. กระทรวงมหาดไทย
๑๔. กระทรวงยุติธรรม
๑๕. กระทรวงแรงงาน
๑๖. กระทรวงวัฒนธรรม
๑๗. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
๑๘. กระทรวงศึกษาธิการ
๑๙. กระทรวงสาธารณสุข
๒๐. กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักนายกรัฐมนตรี มีส่วนราชการ ๓ หน่วยงาน คือ
๑. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
๒. กรมประชาสัมพันธ์
๓. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มี ๘ หน่วยงานคือ
๑. สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
๒. สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
๓. สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
๔. สำนักงบประมาณ
๕. สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
๖. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
๗. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
๘. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำหรับส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง ( มาตรา ๔๖ ) มีดังนี้
๑. สำนักราชเลขาธิการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเลขานุการในพระองค์
พระมหากษัตริย์
๒. สำนักพระราชวัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการพระราชวัง ตลอดจนดุแลรักษา
ทรัพย์สินและผลประโยชน์ของพระมหากษัตริย์
๓. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับกิจการพระพุทธศาสนา
ส่งเสริมพัฒนาพระพุทธศาสนาและดูแลรักษาศาสนสมบัติตามกฎหมายว่าด้วย คณะสงฆ์และอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้
๔. สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มี
อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
๕. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวิจัย และอำนาจ
หน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด
๖. ราชบัณฑิตยสถาน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการค้นคว้า วิจัย และเผยแพร่ทางวิชา
การและอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด
๗. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยและ
 
อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด
๘. สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนิน
การให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด
๙. สำนักงานอัยการสูงสุด มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ การดำเนินการคดีอาญาทั้งปวง คดี
แพ่ง และให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ และอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด
สำหรับพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และแก้ไขเพิ่มเติม
ฉบับที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๔๕ พอสรุปได้ดังนี้คือ
๑. การจัดตั้ง การรวม หรือการโอน ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ
๒. สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มีฐานะเป็นนิติบุคคล
๕.๒.๒ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
การปกครองส่วนภูมิภาคหรือการบริหารส่วนภูมิภาค เป็นการจัดการปกครองหรือจัดระเบียบบริหารราชการที่ใช้หลักการแบ่งอำนาจการปกครอง โดยราชการบริหารส่วนกลางได้แบ่งอำนาจหรือมอบอำนาจวินิจฉัยสั่งการบางประการ หรือบางขั้นตอนให้ตัวแทนไปดำเนินการในส่วนภูมิภาค
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค หมายถึง ราชการบริหารส่วนกลางซึ่งแยกออกไปตั้งที่ทำการในส่วนต่างๆ ของประเทศโดยมีเจ้าหน้าที่หรือข้าราชการของราชการบริหารส่วนภูมิภาคซึ่งถือได้ว่าเป็นตัวเทนของราชการบริหารส่วนกลาง ( กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ) ที่ส่งออกไปประจำปฏิบัติราชการตามเขตการปกครองต่างๆ ของประเทศเพื่อบริการความสะดวกแก่ประชาชน ผู้รับบริการ และทำหน้าที่เป็นตัวแทนของส่วนกลางในการติดต่อประสานงานควบคุมดูแลการปกครองท้องถิ่นด้วย เจ้าหน้าที่หรือข้าราชการส่วนภูมิภาคยังคงเป็นผู้ที่ราชการบริหารส่วนกลางแต่งตั้งและอยู่ในบังคับบัญชาของราชการส่วนกลาง แม้ว่า

เจ้าหน้าที่หรือข้าราชการส่วนภูมิภาคบางส่วนจะบรรจุแต่งตั้งจากบุคคลในท้องถิ่นนั้น หรือว่าเป็นเจ้าหน้าที่หรือข้าราชการส่วนกลางที่ปฏิบัติงานในส่วนภูมิภาคด้วย
การบริหารราชการแผ่นดิน ได้กำหนดให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคดังนี้
๑. จังหวัด
๒. อำเภอ
ส่วนการปกครองย่อยรองจากอำเภอได้แก่กิ่งอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน เป็นการปกครอง
ที่ซึ่งจัดการปกครองตามกฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องที่ พ.ศ. ๒๔๕๗ และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้กฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินได้บัญญัติถึงการปกครองอำเภอว่า "การจัดการปกครองอำเภอ นอกจากที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องที่" ดังนั้นในการจัดหน่วยการปกครองและบริหารราชการของอำเภอจะต้องดำเนินการที่บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. ๒๔๕๗ และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมด้วยซึ่งกฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องที่ได้วางรายละเอียดเกี่ยวกับอำเภอ กิ่งอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ตลอดจนอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตร กำนัน และแพทย์ประจำตำบลและรายละเอียดอื่นๆอีกด้วย
ในปัจจุบันจังหวัดที่ประกอบจากอำเภอจำนวนน้อยที่สุด คือ มี ๓ อำเภอ ได้แก่ จังหวัด ภูเก็ต สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร และปัจจุบันมีจังหวัดทั้งหมด ๗๕ จังหวัด โดยไม่นับกรุงเทพมหานครเป็นจังหวัดเพราะกรุงเทพมหานครจัดเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปพิเศษ ดังจะขออธิบายเรื่องการบริหารส่วนภูมิภาคเรื่องจังหวัดดังนี้
๑. จังหวัด
 
จังหวัดเป็นหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุดแต่ละจังหวัดแบ่งเขตการปกครองหรือราชการบริหารออกเป็นอำเภอ อำเภออาจแบ่งเป็นกิ่งอำเภอ ถ้ามีความจำเป็นในการปกครองแต่โดยปกติแล้วอำเภอแบ่งออกเป็นตำบล ตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน

การจัดตั้งจังหวัด
ตามกฎหมายระเบียบราชการบริหารราชการแผ่นดิน กำหนดให้รวมท้องที่หลายๆอำเภอขึ้นเป็นจังหวัดและให้จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้งยุบและการเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ ดังนั้นจังหวัดหนึ่งๆอาจมีอำเภอตั้งแต่สองอำเภอรวมกัน บางจังหวัดมีจำนวนอำเภอมากบางจังหวัดมีน้อย ซึ่งเป็นไปตามสภาพภูมิประเทศและความจำเป็นในการปกครองและการตั้งยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติซึ่งเป็นกฎหมายที่ต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา ส่วนราชการกำหนดให้จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคลเพื่อให้สามารถทำนิติกรรมต่างๆได้ มีสิทธิในทรัพย์สินได้ มีกรรมสิทธ์ในทรัพย์สินได้ ตลอดจนเป็นโจทย์หรือตกเป็นจำเลยในศาลได้
ผู้รับผิดชอบการบริหารราชการของจังหวัดการบริหารราชการของจังหวัดมีผู้รับผิดชอบตามกฎหมายระเบียบราชการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้คือ
ผู้ว่าราชการจังหวัด
ในการบริหารราชการของจังหวัดหนึ่งๆ นั้นมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชนและเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหาร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัดและรับผิดชอบในราชการจังหวัดและอำเภอ ผู้ว่าราชการจึงมีความสำคัญที่สุดในจังหวัด เพราะเป็นผู้ดำเนินการและรับผิดชอบงานการบริหารส่วนภูมิภาค โดยเป็นผู้รับนโยบายจากส่วนกลางมาปฏิบัติ ให้ได้รับผลดีมีประสิทธิภาพสมความมุ่งหมายในเขตจังหวัดซึ่งตนรับผิดชอบ นอกจากนี้ยังเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาข้าราชการในจังหวัดนั้นคอยสอดส่องดูแลปกครองบังคับบัญชาข้าราชการทุกสังกัด และทุกหน่วยงานเพื่อให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่เป็นไปด้วยความเรียบร้อยตำแหน่งผู้ว่าราชการเป็นข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
รองผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้ช่วยปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัด ทั้งสองตำแหน่งเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย ตำแหน่งนี้จะมีในจังหวัดใหญ่ๆแต่ในปัจจุบันได้จำตั้งตำแหน่งนี้ทุกจังหวัดเพื่อช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัดในการรับผิดชอบ และบริหารราชการให้เกิดผลดี
ปลัดจังหวัด
ในแต่ละจังหวัดมีปลัดจังหวัดเป็นผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดในหน้าที่ทั่วไป และปฏิบัติงานในด้านธุรการให้แก่ผู้ว่าราชการปลัดจังหวัดเป็นข้าราชการสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าส่วนราชการแผนกการปกครองของจังหวัดมีฐานะเท่าเทียมกับหัวหน้าส่วนราชการอื่นๆในจังหวัดนั้นทุกประการ ปลัดจังหวัดจะทำหน้าที่ประจำเฉพาะส่วนที่เป็นงานของกรมการปกครองและมีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการสังกัดกรมการปกครองของจังหวัดเท่านั้น

หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด
ในจังหวัดหนึ่งนอกจากจะมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปรกครองบังคับบัญชา ข้าราชการและรับผิดชอบงานของจังหวัดบางจังหวัดมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดและปลัดจังหวัดแล้ว จะมีหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดซึ่งกระทรวงทบวงกรมต่างๆ ส่งมาประจำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือราชการจังหวัด และมีอำนาจบังคับบัญชา ข้าราชการส่วนภูมิภาค ซึ้งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม ในจังหวัดนั้น เช่น อัยการจังหวัด คลังจังหวัด สรรพากรจังหวัด สรรพสามิตจังหวัด หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด ศึกษาธิการจังหวัด พัศดีจังหวัด ป่าไม้จังหวัด พัฒนาการจังหวัด เป็นต้น หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด มีไม่เท่ากันทุกจังหวัด ซึ้งขึ้นอยู่กับความจำเป็นและความเหมาะสม ที่กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ จะพิจารณาเห็นสมควร จัดตั้งหน่วยงานของตนในจังหวัดต่างๆ และ ขึ้นตรงต่อ
ผู้ว่าราชการจังหวัด ถ้าไม่จัดตั้งเป็นหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาค ประจำจังหวัดก็ถือว่าเป็นส่วนราชการที่ไม่ขึ้นตรงต่อจังหวัด แต่เป็นส่วนราชการที่สังกัดส่วนกลางโดยตรง เป็นหน่วยงานอิสระที่ตั้งอยู่ในจังหวัด เช่น นิคมสร้างตนเอง แขวงการทาง หน่วยงานกรมชลประทาน สถานีขยายพันธุ์พืชเป็นต้น
คณะกรรมการจังหวัด
ในจังหวัดหนึ่งให้มีคณะกรรมการจังหวัด ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด ในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้นและให้ความเห็นชอบในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดกับปฏิบัติ หน้าที่อื่น ตามที่กฎหมายหรือคณะรัฐมนตรีกำหนด
คณะกรมการจังหวัดประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัด
หนึ่งคน ตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอมหมาย ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัด ซึ้งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด รองผู้บังคับการตำรวจ ซึ้งทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด หรือผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด แล้วแต่กรณี และหัวหน้าส่วนราชการจังหวัด จากกระทรวงและทบวงต่างๆ เว้นแต่กระทรวงมหาดไทย ซึ้งประจำอยู่ในจังหวัด กระทรวงหรือทบวงละหนึ่งคน เป็นกรมการจังหวัด และหัวหน้าสำนักงานจังหวัด เป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ
ถ้ากระทรวงหรือทบวง มีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ้งกรมต่างๆในกระทรวงหรือทบวงนั้นส่งมาประจำอยู่ ในจังหวัดมากกว่าหนึ่งคน ให้ปลัดกระทรวงหรือปลัดทบวง กำหนดให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดหนึ่งคนเป็นผู้แทน ของกระทรวงหรือทบวง ในคณะกรมการจังหวัด
ในการปฏิบัติหน้าที่ ของคณะกรรมการจังหวัด ในการเป็นที่ปรึกษา ของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือให้ความเห็นชอบ ในการจักทำแผนพัฒนาจังหวัด หรือปฏิบัติหน้าที่อื่น ดังกล่าวข้างต้น ผู้ว่าราชการจังหวัด เห็นสมควรจะแต่งตั้งให้หัวหน้าส่วนราชการจังหวัด ซึ้งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคคนหนึ่ง หรือหลายคนเป้นกรมการจังหวัด เพิ่มขึ้นเฉพาะการปฏิบัติหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งก็ได้
 
คณะกรรมการจังหวัดในปัจจุบันมีหน้าที่มากกว่าเดิม ซึ้งในกฎหมายระเบียบ บริหารราชการแผ่นดินฉบับก่อนๆ ได้กำหนดให้คณะกรรมการจังหวัดเป็นเพียงคณะที่ปรึกษา ของผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้น
อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด
ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบทั้งในทางปฏิบัติและในด้านกฎหมาย ระเบียบแบบแผนกฎข้อบังคับต่างๆ เป็นตัวแทนของรัฐบาล อันที่จะอำนวยประโยชน์สุขแก่ประชาชนอย่างกว้างขวาง อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด ตามที่กำหนดในกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินปัจจุบันมีดังนี้
๑. บริหารราชการตามกฎหมาย และระเบียบแบบแผนของราชการ
๒. บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมายหรือตามที่นายก
รัฐมนตรี สั่งการในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
๓. บริหารราชการตามคำแนะนำและคำชี้แจงของผู้ตรวจราชการกระทรวง ในเมื่อไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ หรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม มติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของขณะนายกรัฐมนตรี
๔. กำกับดูแลการปฏิบัติราชการอันมิใช่ราชการส่วนภูมิภาคของข้าราชการ ซึ้งประจำอยู่ในจังหวัดนั้น ยกเว้นข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการฝ่ายพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการในสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และขาราชการครู ให้ปฏิบัติราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม มติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรี ไว้ชั่งคราวแล้วรายงามกระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้อง
๕. ประสานงานและร่วมมือกับข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการในสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และข้าราชการครู ผู้ตรวจราชการและหัวหน้าส่วนราชการ ในระดับเขตหรือภาค ในการพัฒนาจังหวัด หรือป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ
๖. เสนองบประมานต่อกระทรวงที่เกี่ยวข้องตามโครงการ หรือแผนพัฒนาจังหวัด และรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบ
๗. ควบคุมดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดตามกฎหมาย
๘. กำกับการปฏิบัติหน้าที่ ของพนักงานองค์การ ของรัฐบาล หรือ รัฐวิสาหกิจ ในการนี้ให้มีอำนาจทำรายงานหรือแสดงความคิกเห็น เกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์การ ของรัฐบาล หรือ รัฐวิสาหกิจ ต่อรัฐมนตรี เจ้าสังกัด องค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ
 
๙. บรรจุ แต่งตั้ง ให้บำเหน็จ และลงโทษ ข้าราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัดตามกฎหมาย และตามที่ปลัดกระทรวง ปลัดทบวงหรืออธิบดีมอบหมาย
นอกจากอำนาจหน้าที่ทั่วไป ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินดังกล่าวแล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดยังมีอำนาจหน้าที่ อย่างอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ ลักษณะปกครองท้องถิ่น พ.ศ. ๒๔๕๗ และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมด้วย และมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายอื่นๆ กำหนดอีกมากมาย ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องปฏิบัติ ในเขตที่ตนเองรับผิดชอบอีกด้วย
การรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัด
กฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินปัจจุบัน กำหนดเกี่ยวกับการรักษาราชการ แทนผู้ว่าราชการจังหวัดไว้ดังนี้
 
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้รักษาการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ ให้ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้รักษาการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยว่าราชการจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ ปลัดจังหวัด เป็นผู้รักษาการแทน ถ้ามีรองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือปลัดจังหวัด หลายคน ให้ปลัดกระทรวงแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด และปลัดจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ ให้หัวหน้าส่วนราชการจังหวัด ประจำจังหวัดซึ้งมีอาวุโส ตามระเบียบแบบแผน ของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
การแบ่งส่วนราชการจังหวัด
ตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดินปัจจุบันกำหนดให้แบ่งส่วนราชการของจังหวดดังนี้
 
๑. สำนักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไป และการวางแผนพัฒนาจังหวัด ของจังหวัดนั้น มีหัวหน้าสำนักงาน จังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติ ราชการของสำนักงานจังหวัด
 
๒. ส่วนต่างๆ ซึ่ง กระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการ ของ กระทรวง ทบวง กรมนั้นๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้นๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
๒. อำเภอ
 
ในจังหวัดหนึ่งๆ ให้มีหน่วยราชการบริหาร รองจากจังหวัดเรียกว่า อำเภอ อำเภอเป็นส่วนบริหารราชการส่วนภูมิภาค ขึ้งอยู่ในสายงายของจังหวัด เป็นเขตการปกครองส่วนย่อยๆของจังหวัด
 
อำเภอ ไม้มีอำนาจเป็นนิติบุคคล เหมือนกับจังหวัด อำเภอเป็นหน่วยการปกครองที่ดำเนินงาน ของรัฐที่ติดต่อใกล้ชิดกับประชาชน โดนตรงเป็นปรกติประจำวัน จึงนับได้ว่าเป็นหน่วยการปกครองที่สำคัญมาก อำเภอหนึ่งๆ ประกอบด้วยเขตท้องที่หลายตำบลรวมกัน กฎหมายระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน กำหนดว่า การตั้ง ยุบ และการเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอให้ตรา พระราชกฤษฎีกา
การจัดตั้งอำเภอ
๑. มีจำนวนพลเมืองตั้งแต่ ๒๕,๐๐๐ คนขึ้นไป
๒. ได้ยกฐานะจากกิ่งอำเภอที่ตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า ๕ ปีหรือไม่น้อยกว่า ๓ ปีในกรณีมี
เหตุจำเป็น
๓. มีรายได้จากบำรุงภาษีบำรุงท้องที่ตั้งแต่ ๑๐๐,๐๐๐ บาทต่อปี
๔. ต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดและสภาจังหวัด
 
ผู้รับผิดชอบการบริหารราชการของอำเภอ
 
อำเภอหนึ่งมี นายอำเภอ คนหนึ่ง เป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชา บรรดาข้าราชการในอำเภอ และรับผิดชอบ งานบริหารราชการของอำเภอ นายอำเภอเป็นราชการในสังกัด กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย บรรดาอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกรมการอำเภอ หรือนายอำเภอ ซึ้งกฎหมายกำหนด ให้กรมการอำเภอและนายอำเภอมีอยู่ให้โอนไปเป็นอำนาจและหน้าที่ของนายอำเภอผู้รับผิดชอบ การบริหารราชการของอำเภอเดิมนั้นเป็นรูปคณะกรมการอำเภอ ซึ่งประกอบด้วนนายอำเภอ ปลัดอำเภอ และหัวหน้าส่วนราชการ บริหารฝ่ายพลเรือนต่างๆ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ประจำอำเภอ โดยมี นายอำเภอ เป็นประธานบริหาร อำเภอร่วมกัน แต่เมื่อได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๔๙๕ คณะกรมการอำเภอ ได้ถูกเลิกไป และให้อำนาจรับผิดชอบตกอยู่กับนายอำเภอแต่เพียงผู้เดียว ในอำเภอหนึ่งนอกจากจะมี นายอำเภอ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชา และรับผิดชอบงานบริหาร ราชการของอำเภอดังกล่าวแล้ว ให้มีปลัดอำเภอ และหัวหน้าส่วนราชการ ประจำอำเภอ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ส่งมาประจำให้ปฏิบัติหน้าที่ เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอ และมีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการ ฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม นั้น ในอำเภอนั้น
 
อำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ
 นายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชา บรรดาข้าราชการในอำเภอ และรับผิดชอบงานบริหารราชการของอำเภอ โดยมีปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ในนายอำเภอ นั้นเป็นผู้ช่วยเหลือนายนายอำเภอ อำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ ที่มีอยู่ตามกฎหมายนั้น ปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติสองฉบับ ที่เป็นแม่บท คืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. ๒๔๕๗ และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม
อำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ ตามกฎระเบียบบริหารราชการแผ่นดินมีดังนี้ 
๑. บริหารราชการตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ ถ้ากฎหมายใดมิได้บัญญัติว่า การปฏิบัติตามกฎหมายนั้น เป็นหน้าที่ของผู้ใด โดยเฉพาะให้เป็นหน้าที่ของ นายอำเภอที่จะต้องรักษา การให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นด้วย
๒. บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมายหรือตามที่นายกรัฐมนตรีสั่งการในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
๓. บริหารราชการตามคำแนะนำ และคำชี้แจงของผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้มีหน้าที่ตรวจการอื่น ซึ่งคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม และผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ในเมื่อขัดต่อกฎหมาย หรือระเบียบข้อบังคับ ของกระทรวง ทบวง กรม หรือคณะมติรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรี
๔. ควบคุมดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในอำเภอตามกฎหมาย
อำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.๒๔๕๗มีดังนี้
๑. การปกครองท้องที่
๒. การป้องกันภยันตรายของราษฎรและรักษาความสงบในท้องที่
๓. การที่เกี่ยวกับคดีแพ่งและคดีอาญา
๔. การป้องกันโรคร้าย
๕. การบำรุง การทำนา ค้าขาย ป่าไม้ และการคมนาคม
๖. การบำรุงการศึกษา
๗. การเก็บภาษีอากร
๘. หน้าที่เบ็ดเตล็ด หน้าที่อื่นๆ ของนายอำเภอซึ้งเรียกว่า หน้าที่เบ็ดเตล็ด
 
ปลัดอำเภอ
ในอำเภอหนึ่งๆ นอกจากจะมีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาและรับผิดชอบบริหารราชการของอำเภอแล้ว ยังมีปลัดอำเภอเป็นผู้ช่วยเหลือในการปฏิบัติราชการ ปลัดอำเภอเป็นข้าราชการสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย อำเภอหนึ่งๆจะมีปลัดอำเภอจำนวนมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปริมาณงานและความรับผิดชอบ รวมทั้งความสมควรแก่ราชการเป็นสำคัญ
 
หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ
ในแต่ละอำเภอ นอกจากจะมีนายอำเภอและปลัดอำเภอแล้วยังมีหัวหน้าส่วนราชการประจำ อำเภอ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรมต่างๆส่งไปประจำทำงานในหน้าที่ของตน ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอและมีอำนาจปกครองบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการส่วนภูมิภาค ซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมนั้นในอำเภอนั้น หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ เช่น สารวัตรใหญ่ หรือสารวัตรสถานีตำรวจภูธรอำเภอ สรรพกรอำเภอ สรรพสามิตอำเภอ ศึกษาธิการอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ เกษตรอำเภอ เป็นต้น
การแบ่งส่วนราชการของอำเภอ
๑. สำนักงานอำเภอ มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของอำเภอนั้นๆ โดยมีนายอำเภอเป็น
ผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ สำนักงานอำเภอตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริหารราชการในอำเภอ
๒. ส่วนราชการประจำอำเภอต่างๆ เป็นไปตามที่กระทรวง ทบวง กรมนั้นๆจะปฏิบัติหน้า
ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการตามที่กระทรวง ทบวง กรมนั้นๆ มอบหมาย
 
๕.๒.๓ การจัดระเบียบการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
การการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๗๘ รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้นๆ
 
องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น หมายความว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายตั้งขึ้น
 
การปกครองท้องถิ่นของประเทศไทย มีดังนี้คือเทศบาล
๑. องค์การบริหารส่วนจังหวัด
๒. องค์การบริหารส่วนตำบล
๓. รูปแบบพิเศษ คือกรุงเทพมหานครและเมือง
 
สำหรับกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยาเป็นราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่กฎหมายกำหนด
และสุขาภิบาลได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบล ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๒ ทั้งหมดแล้ว ซึ่งจะไม่มีการจัดตั้งสุขาภิบาลขึ้นมาอีก
 
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
 
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ในที่นี้จะขออธิบายเรียงตามลำดับได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานครและ เมืองพัทยา ดังจะอธิบายโดยละเอียดดังนี้คือ
 
๑. เทศบาล
เทศบาลเป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในปีพ.ศ. ๒๔๔๐ ทรงโปรดให้มีการปกครองแบบเทศบาลในกรุงเทพฯก่อน เป็นการทดลอง และได้ทรงตราพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพ ร.ศ. ๑๑๖ หรือ พ.ศ. ๒๔๔๑ เทศบาลกรุงเทพไม่สามารถดำเนินการให้เป็นการปกครองตนเอง เพราะส่วนใหญ่เป็นข้าราชการเกือบทั้งหมด ดังนั้นในวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอม ต. ท่าฉลอม อ. เมือง จ. สมุทรสงคราม ซึ่งถือได้ว่าเป็นรูปแบบการปกครองแบบเทศบาลเป็นครั้งแรก หรือเป็นก้าวแรกของการปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งแรกของประเทศไทยและมีการกระจาย อำนาจการปกครองไปยังท้องถิ่นมากขึ้น ในปี ๒๔๙๖ มีการตราพระราชบัญญัติการจัดบำรุง สถานที่ชายทะเล เรียกว่า การจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลตะวันตก ตั้งแต่ชะอำไปจนถึงหัวหิน กฎหมายกำหนดให้เป็นนิติบุคคล คณะกรรมการส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ และไม่ได้กระจายอำนาจมากนัก ในปีพ.ศ. ๒๔๗๓ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้ายู่หัวทรงจัดการปกครองท้องถิ่นในรูปเทศบาลขึ้น แต่ถูกยับยั้งไว้เพราะเหตุว่าประชาชนยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจเท่าที่ควร อย่างไรก็ดีเมื่อคณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงได้มีประกาศพระราชบัญญัติระเบียบเทศบาล พ.ศ. ๒๔๗๖ และได้ประกาศให้มีการปกครองท้องถิ่นในรูปเทศบาลขึ้นครั้งแรกในปีพ.ศ. ๒๔๗๘ โดยได้ยกฐานะสุขาภิบาลที่มีอยู่เดิม ๓๕ แห่ง ซึ่งเป็นสุขาภิบาลเมือง ๒๙ แห่งและสุขาภิบาลท้องที่ ๖ แห่ง ขึ้นเป็นเทศบาล ในปัจจุบันมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติเทศบาลหลายฉบับเช่น พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๘๑ และ พ.ศ. ๒๔๘๖ พ.ศ. ๒๔๙๖ และปัจจุบันมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเทศบาล ( ฉบับที่ ๑๑ ) พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้ประชาชนมีสิทธิเลือกการบริหารกิจการเทศบาลในรูปแบบคณะเทศมนตรีหรือนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง นับได้ว่าการปกครองแบบเทศบาลเป็นการปกครองในรูปแบบรัฐสภา ( Parliamentary System ) นับว่าเป็นรูปการปกครองท้องถิ่นที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นอย่างแท้จริงในรูปเทศบาล
อาจสรุปได้ว่าเทศบาลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งแบ่งออกได้ ๓ ประเภทคือเทศบาลตำบล เทศบาลเมืองและเทศบาลนคร โดยการแบ่งประเภทดังกล่าวขึ้นอยู่กับประชาชนในท้องถิ่น ความเจริญทางเศรษฐกิจ หรือรายได้ของท้องถิ่น
 
การจัดตั้งเทศบาล
การจัดตั้งเทศบาล กฎหมายกำหนดให้เทศบาลมี ๓ ประเภทคือ
๑. เทศบาลตำบล เป็นเทศบาลขนาดเล็ก
๒. เทศบาลเมือง เป็นเทศบาลขนาดกลาง
๓. เทศบาลนคร เป็นเทศบาลขนาดใหญ่ ดังจะอธิบายโดยละเอียดดังต่อไปนี้
๑. เทศบาลตำบล โดยกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ไว้กว้างๆ ว่า ท้องถิ่นที่มีพระราช
กฤษฎีกา ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบล พระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุชื่อและเขตเทศบาลไว้ด้วย ดังนั้นการยกฐานะท้องถิ่นใดขึ้นเป็นเทศบาลตำบล จึงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของรัฐบาลที่จะพิจารณาตามที่เห็นสมควร ซึ่งจะต้องเป็นท้องถิ่นที่มีราษฎรอยู่มาก และมีความเจริญพอสมควร เทศบาลตำบลมีเกณฑ์ดังนี้คือ
๑.๑ มีรายได้จริงโดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ผ่านมาตั้งแต่ ๑๒,๐๐๐,๐๐๐.-บาท
ขึ้นไป
๑.๒ มีประชากรตั้งแต่ ๗,๐๐๐ คนขึ้นไป
๑.๓ ความหนาแน่นของประชากรตั้งแต่ ๑,๕๐๐ คน ต่อ ๑ ตารางกิโลเมตรขึ้นไป
๑.๔ ได้รับความเห็นชอบจากราษฎรในท้องถิ่นนั้นๆ
ตัวอย่างเทศบาลตำบล ได้แก่เทศบาลตำบลวังทอง ตั้งอยู่ในเขตปกครองของอำเภอวังทอง
โดยได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลวังทองตามประกาศกระทรวงมหาดไทยในราชกิจจานุบกษา
ฉบับพิเศษหน้าที่ ๑ เล่ม ๑๑๖ ตอนที่๙ก ลงวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ โยยกฐานะจากสุขาภิบาลวังทองขึ้นเป็นเทศบาลตำบลวังทองครอบคลุมพื้นที่ ๓ หมู่บ้านได้แก่ หมู่ ๑ บางส่วน(บ้านวังทอง) หมู่ ๒ (บ้านตาลโปร่ง) หมู่ ๓ (บ้านน้ำด้วน) มีพื้นที่ประมาณ ๑.๗๗ ตารางกิโลเมตรและมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง เทศบาลตำบลวังทองมีรายรับ-รายจ่ายเลี้ยงเทศบาลได้
สำหรับรายรับ-รายจ่ายของเทศบาลตำบลวังทอง ประชาชนในเขตตำบลวังทองมีหน้าที่ตรวจสอบว่า เงินรายรับที่ได้มาได้ดำเนินการเพื่อประโยชน์แห่งเทศบาลตำบลวังทองหรือไม่ทุกคนมีหน้าที่และรับผิดชอบสังคมร่วมกันไม่ใช่เลือกตัวแทนไปแล้วก็ปล่อยให้ทำงานกันโดยไม่ตรวจสอบ
๒. เทศบาลเมือง มีหลักเกณฑ์การจัดตั้งดังนี้คือ
๒.๑ ท้องถิ่นที่เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดทุกแห่งให้ยกฐานะเป็นเทศบาลเมือง โดยตรากฎหมายเป็นพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นเทศบาลเมือง
 
๒.๒ ท้องถิ่นที่มิใช้เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดจะยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองมีหลักเกณฑ์คือ
๒.๒.๑ เป็นท้องถิ่นที่มีพลเมืองตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ คนขึ้นไป
 
๒.๒.๒ มีรายได้พอแก่การปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด
๒.๒.๓ มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็นเทศบาลเมือง
๓. เทศบาลนคร มีหลักเกณฑ์การจัดตั้งดังนี้คือ
๓.๑ เป็นท้องถิ่นที่มีพลเมืองตั้งแต่ ๕๐,๐๐๐ คนขึ้นไป
๓.๒ ราษฎรอยู่หนาแน่นไม่ต่ำกว่า ๓,๐๐๐ คนต่อตารางกิโลเมตร
๓.๓ มีรายได้พอแก่การปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งต้องทำตามกฎหมายกำหนด
๓.๔ มีพระราชกฤษฎีกา ยกฐานะเป็นเทศบาลนคร
ท้องถิ่นที่จะยกฐานะเป็นเทศบาลนั้น จะต้องเข้าหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้และการ
จัดตั้งจะต้องกระทำเป็น พระราชกฤษฎีกา โดยพระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุชื่อและเขตเทศบาลไว้ด้วยและเมืองเป็นเทศบาลแล้วก็มีสภาพเป็นทบวงการเมือง ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายด้วย
ในปี ๒๕๔๒ มีเทศบาลทั้งหมด ๑,๑๒๙ แห่ง เป็นเทศบาลนคร ๑๘ แห่ง คือเทศบาลนครเชียงใหม่ นครศรีธรรมราช นครราชสีมา นครสวรรค์ ขอนแก่น อุดรธานี นนทบุรี หาดใหญ่ ยะลา อุบลราชธานี พิษณุโลก สมุทรปราการ ระยอง ลำปาง นครปฐม ปากเกร็ด สงขลา สมุทรสาคร เทศบาลเมือง ๘๐ แห่ง และเทศบาลตำบล ๑,๐๓๑ แห่ง
การจัดองค์การและการบริหาร กฎหมายเทศบาลกำหนดรูปแบบโครงสร้างการบริหารของเทศบาลจำลองแบบการปกครองแบบรัฐสภา โดยให้ราษฎรเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเข้ามาควบคุมการบริหาร และสภาเทศบาลเลือกสมาชิกเป็นคณะเทศมนตรี ทำหน้าที่บริหารเทศบาล
โครงสร้างและการบริหารเทศบาล
การบริหารองค์การเทศบาล แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ รูปแบบคณะเทศมนตรี
และรูปแบบนายกเทศมนตรี การเลือกรูปแบบการบริหารเทศมนตรีต้องเป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนในเขตเทศบาลแต่ละแห่ง ดังนี้คือ
๑. การเลือกรูปแบบองค์การบริหารเทศบาลผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกเทศบาลจำนวนไม่น้อย
กว่า ๑ ใน ๔ ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลในเขตเทศบาลนั้นเข้าชื่อร้องขอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อจัดให้ทำประชามติว่าจะกำหนดให้การบริหารเทศบาลใช้รูปแบบคณะเทศมนตรี หรือ นายกเทศมนตรี
๒. การนำไปใช้ ผลของประชามติให้นำมาใช้เมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเป็นการ
ทั่วไปในคราวถัดไปจากวันที่ออกเสียงประชามติ และให้ใช้รูปแบบการบริหารตามผลประชามตินั้นตลอดไปจนกว่าจะมีการอกเสียงประชามติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารเทศบาลเป็นอย่างอื่น
๓. ระยะเวลาการร้องขอให้ทำประชามติ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องร้องขอต่อคณะกรรมการการ
เลือกตั้งก่อนครบวาระของสภาเทศบาลที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะนั้นไม่น้อยกว่า ๓๖๐ วัน และจะกระทำในวาระของสภาเทศบาลหนึ่งได้เพียงครั้งเดียว
การจัดตั้งองค์การเทศบาล
การจัดตั้งองค์การเทศบาลแบ่งเป็น ๒ รูปแบบแล้วแต่เจตนารมณ์ของประชาชนโดยการทำ
ประชามติ ได้แก่
๑. การบริหารกิจการเทศบาลในรูปแบบคณะเทศมนตรี ประกอบด้วย
สภาเทศบาล สภาเทศบาลประกอบด้วย สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง
อยู่ในตำแหน่งวาระละ ๔ ปี สภาเทศบาลมีประธานสภา ๑ คน และรองประธานสภา ๑ คน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งมาจากสมาชิกสภาเทศบาลตามมติของสภาเทศบาล สภาเทศบาลตำบล มีสมาชิก ๑๒ คน สภาเทศบาลเมือง มีสมาชิก ๑๘ คน ส่วนสภาเทศบาลนคร มีสมาชิก ๒๔ คน
 
สภาเทศบาลมีอำนาจหน้าที่ คือ
๑. มีอำนาจในการตราเทศบัญญัติ เทศบัญญัติเป็นกฎหมายที่สภาเทศบาลเป็นผู้ออก มีผลบังคับใช้ในเขตเทศบาล และเทศบัญญัติจะต้องไม่ขัดแย้งกับตัวบทกฎหมาย
 
๒. อำนาจในการคบคุมฝ่ายบริหาร โดยสภาเทศบาล มีอำนาจในการควบคุมคณะเทศ
มนตรีซึ่งเป็นฝ่ายบริหารให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นไปตามระเบียบแบบแผนและนโยบายที่กำหนดไว้โดยมีมาตรการควบคุมคือการตั้งกระทู้ถาม การขอเปิดอภิปรายและการอนุมัติงบประมาณประจำปี
๓. อำนาจให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งคณะเทศมนตรี ตามบทบัญญัติของกฎหมายว่า
ด้วยเทศบาลได้กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนเทศบาลเป็นนายกเทศมนตรี และเทศมนตรีด้วยความเห็นชอบของสภาเทศบาล
๔. อำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการสภาเทศบาล คณะกรรมการที่สภาเทศบาลแต่ง
ตั้ง มี ๒ ประเภท คือ คณะกรรมการสามัญ เป็นคณะกรรมการที่ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาล และคณะกรรมการวิสามัญ เป็นคณะกรรมการที่ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลหรือผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกที่ไม่ได้เป็นสมาชิก คณะกรรมการทั้งสองชุดจะทำหน้าที่ปฏิบัติภารกิจที่สภาเทศบาลมอบหมาย
คณะเทศมนตรี ประกอบด้วยนายกเทศมนตรีและเทศมนตรี จำนวนตามประเภทของ
เทศบาล คือ
 
๑.เทศบาลตำบลให้มีนายกเทศมนตรี ๑ คนและเทศมนตรีอีกไม่เกิน ๒ คนรวมเป็น ๓ คน
 
๒. เทศบาลเมือง ให้มีนายกเทศมนตรี๑คนและเทศมนตรีอีกไม่เกิน ๓ คนรวมเป็น ๔ คน ๓ เทศบาลนคร ให้มีนายกเทศมนตรี ๑ คนและเทศมนตรีอีกไม่เกิน ๔คน รวมเป็น ๕ คน
ผู้ว่าราชการเป็นผู้แต่งตั้งนายกเทศมนตรีและเทศมนตรีจากผู้ที่เป็นสมาชิกเทศบาล และจะ
แต่งตั้งบุคคลภายนอกไม่ได้
 
คณะเทศมนตรี มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้คือ
๑. มีหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามที่กฎหมายกำหนด
๒. เปรียบเทียบคดีที่เกี่ยวกับการละเมิดเทศบัญญัติ โดยนายกเทศมนตรี หรือเทศมนตรีคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่เปรียบเทียบปรับในคดีที่ละเมิดต่อเทศบัญญัติ ละประกาศในราชกิจจาเบกษา
๓. อำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติต่างๆตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะการปกครองท้องที่
การบริหารกิจการเทศบาลในรูปแบบนายกเทศมนตรี ประกอบด้วย
สภาเทศบาล สภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และอยู่ใน
ตำแหน่งวาระละ ๔ ปี สภาเทศบาลมีประธานสภา ๑ คน และรองประธานสภา ๑ คน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งมาจากสมาชิกสภาเทศบาลตามมติของสภาเทศบาล สภาเทศบาล แบ่งออกเป็น ๓ ประเภทดังนี้คือ
๑. สภาเทศบาลตำบล มีสมาชิก ๑๒ คน
 
๒. สภาเทศบาลเมือง มีสมาชิก ๑๘ คน
 
๓. สภาเทศบาลนคร มีสมาชิก ๒๔ คน
 
จะเห็นได้ว่าการบริหารกิจการเทศบาลในรูแบบนายกเทศมนตรีคล้ายๆ กับการบริหารกิจการเทศบาล ในรูแบบคณะเทศมนตรี แต่มีบางข้อรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างออกไป
อำนาจหน้าที่ของสภาเทศบาล คือ
๑. มีอำนาจในการตราเทศบัญญัติ เทศบัญญัติเป็นกฎหมายที่สภาเทศบาลเป็นผู้ออก มีผลบังคับใช้ในเขตเทศบาล และเทศบัญญัติจะต้องไม่ขัดแย้งกับตัวบทกฎหมาย
 
๒. อำนาจในการคบคุมฝ่ายบริหาร โดยสภาเทศบาลมีอำนาจในการควบคุมคณะเทศ
มนตรีซึ่งเป็นฝ่ายบริหารให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นไปตามระเบียบแบบแผนและนโยบายที่กำหนดไว้โดยมีมาตรการควบคุม คือ การแถลงนโยบายของนายกเทศมนตรีต่อสภา การตั้งกระทู้ถาม การขอเปิดอภิปรายและการอนุมัติงบประมาณประจำปี แต่เป็นการควบคุมไม่เด็ดขาด ไม่มีการลงมติไม่ไว้วางใจนายกเทศมนตรี
๓. อำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการสภาเทศบาล คณะกรรมการที่สภาเทศบาลแต่งตั้ง
 
มี ๒ ประเภท คือ คณะกรรมการสามัญ เป็นคณะกรรมการที่ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาล และคณะกรรมการวิสามัญ เป็นคณะกรรมการที่ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลหรือผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกที่ไม่ได้เป็นสมาชิก คณะกรรมการทั้งสองชุดจะทำหน้าที่ปฏิบัติภารกิจที่สภาเทศบาลมอบหมาย
คณะเทศมนตรี ประกอบด้วยนายกเทศมนตรีและเทศมนตรี มาจากการเลือกตั้งโดยตรง
ของประชาชน มีจำนวนตามประเภทของเทศบาล คือ เทศบาลตำบล ให้เลือกตั้งนายกเทศมนตรี ๑ คนและนายกเทศมนตรีเลือก หรือแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรี ได้ไม่เกิน ๒ คน เทศบาลเมือง ให้เลือกตั้งนายกเทศมนตรี ๑ คนและนายกเทศมนตรีเลือก หรือแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรี ได้ไม่เกิน ๓ คน เทศบาลนคร ให้เลือกตั้งนายกเทศมนตรี ๑ คนและนายกเทศมนตรีเลือก หรือแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรี ได้ไม่เกิน ๔ คน สำหรับนายกเทศมนตรีมีอำนาจ หน้าที่ดังนี้คือ
๑. กำหนดนโยบาย ไม่ขัดต่อกฎหมายรับผิดชอบ ในการบริหารราชการของเทศบาลตามที่กฎหมายกำหนด
๒. สั่ง อนุญาต อนุมัติเกี่ยวกับราชการของเทศบาล
๓. แต่งตั้ง และถอดถอน รองนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และเลขานุการเทศมนตรี
๔. วางระเบียบเพื่อให้งานของเทศบาลดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย
๕. รักษาการให้เป็นไปตามเทศบัญญัติ
๖. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด
เราอาจสรุปได้ว่า ในปัจจุบันผู้แทนของเทศบาล มี ๒ ฝ่ายได้แก่
 
๑. สมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนมีวาระการ
ทำงาน ๔ ปี จำนวนสมาชิกสภาเทศบาลจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของเทศบาลคือ สภาเทศบาลตำบล มีสมาชิก ๑๒ คน สภาเทศบาลเมือง มีสมาชิก ๑๘ คน ส่วนสภาเทศบาลนคร มีสมาชิก ๒๔ คน สมาชิกสภาเทศบาลทำหน้าที่ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นที่เรียกว่า "เทศบัญญัติ" ตรวจสอบและควบคุมการบริหารงานเทศบาลของฝ่ายบริหาร และให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาเทศบาลและงบประมาณรายจ่ายประจำปี
นายกเทศมนตรีเป็นฝ่ายบริหารมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
นายกเทศมนตรีเป็นฝ่ายบริหารมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนทั้งของ เทศบาล
ตำบล เทศบาลเมือง เทศบาลนคร โดยมีนายกเทศมนตรีแห่งละ ๑ คน และนายกเทศมนตรีเลือกรองนายกเทศมนตรีซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลในเทศบาลตำบล ๒ คน เทศบาลเมือง ๓ คน เทศบาลนคร ๔ คน เพื่อช่วยบริหารงาน
 
การบริหารงานบุคคลของเทศบาล
บุคลากรของเทศบาลประกอบด้วย พนักงานเทศบาล และ ลูกจ้าง
พนักงานเทศบาล เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำในเทศบาล และได้รับเงินเดือนจากงบ
ประมาณหมวดเงินเดือนที่ตั้งไว้ในงบประมาณรายจ่ายประจำปีของเทศบาล พนักงานเทศบาลเกิดตามกฎหมายที่กำหนด
ลูกจ้าง เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในเขตเทศบาล เพื่อช่วยงานของเทศบาล โดยได้รับค่าจ้าง หรือค่าตอบทนในหมวดอื่นตามที่กฎหมายกำหนด
องค์การบริหารงานบุคคลของเทศบาล
การบริหารงานบุคคลของเทศบาลเป็นระบบ คณะกรรมการบริหารงานบุคคล ประกอบด้วย ๓ ระดับ คือมีคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารบุคคลส่วนท้องถิ่น เป็นผู้วางหลักและควบคุมการดำเนินงานต่างๆ เกี่ยวกับการบริหารงานของบุคคลทุกแห่งทั่วประเทศ คณะกรรมการบริหารบุคคลกลาง และคณะกรรมการบริหารบุคคลระดับจังหวัดที่มีเทศบาลอยู่
คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารบุคคลส่วนท้องถิ่น ( ก.ถ. ) ประกอบด้วยกรรมการโดยตำแหน่งจำนวน ๖ คน ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมการปกครอง กรรมการโดยการคัดเลือกประกอบด้วย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๕ คน ผู้แทนคณะกรรมการกลางข้าราชการและพนักงานองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการละ ๑ คน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
๑.กำหนดมาตรฐานกลางและแนวทางในการรักษาระบบคุณธรรมเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล
๒. กำหนดแนวทางการพัฒนา การบริหารงานส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ
๓. กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือกคณะกรรมการกลาง ข้าราชการและพนักงานท้องถิ่น
๔. ส่งเสริมให้มีการศึกษา วิเคราะห์ วิจัยงานบริหารบุคคลส่วนท้องถิ่น
๕. ให้ปรึกษา คำแนะนำ และพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับงานบริหารบุคคลส่วนท้องถิ่น
๖. ประสานงานกับคณะรัฐมนตรี หน่วยงานอื่น
๗. ปฏิบัติการอื่นตามที่กฎหมายกำหนด
คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมบัญชีกลาง และอธิบดีกรมการปกครอง ผู้แทนเทศบาลจำนวน ๖ คนซึ่งคัดเลือกจากนายกเทศมนตรี จำนวน ๓ คน และปลัดเทศบาลจำนวน 3 คน และผู้ทรงคุณวุฒิอีก ๖ คน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
๑. กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือกผู้แทนพนักงานเทศบาลและผู้ทรงคุณวุฒิ
๒. กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม
๓. กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับอัตรา ตำแหน่ง
๔. กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับอัตราเงินเดือนและวิธีการจ่ายเงิน
๕. กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบรรจุ แต่งตั้ง
๖. กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัย และ การรักษาวินัย
๗. กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการให้ออกจากราชการ
๘. กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์
๙. กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับโครงสร้างและการแบ่งส่วนราชการ
๑๐. ปฏิบัติตามที่กฎหมายบัญญัติ
คณะกรรมการพนักงานเทศบาล
ทำหน้าที่บริหารงานบุคคลสำหรับเทศบาลทุกแห่งที่อยู่ในเขตนั้นๆ ประกอบด้วย ผู้ว่าราช
การจังหวัดเป็นประธาน หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจำนวน ๕ คนจากส่วนราชการในจังหวัดนั้นๆ ผู้แทนเทศบาลจำนวน ๖ คน มาจากประธานสภาเทศบาล ๒ คน นายกเทศมนตรี ๒ คน ปลัดเทศบาล ๒ คน
 
การบริหารงานคลังและงบประมาณ
รายได้และรายจ่ายของเทศบาลมีดังต่อไปนี้
รายได้ของเทศบาล
๑. ภาษีอากรตามที่กฎหมายกำหนด
๒. ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับ
๓. รายได้จากทรัพย์ของเทศบาล
๔. รายได้จากการสาธารณูปโภคและเทศพาณิชย์
๕. พันธบัตรหรือเงินกู้ ตามแต่กฎหมายจะกำหนด
๖. เงินกู้จากกระทรวง ทบวง กรม องค์การหรือนิติบุคคลต่างๆ
๗. เงินอุดหนุนจากรัฐบาลหรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด
๘. เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นที่มีผู้อุทิศให้
๙. รายได้อื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
รายจ่ายของเทศบาล
๑. เงินเดือน
๒. ค่าจ้าง
๓. ค่าตอบแทนอื่น ๆ
 
๔. ค่าใช้สอย
๕. ค่าวัสดุ
๖. ค่าครุภัณฑ์
๗. ค่าที่ดิน สิ่งก่อสร้าง และทรัพย์สินอื่นๆ
๘. เงินอุดหนุน
๙. รายจ่ายอื่นใดตามข้อผูกพัน หรือ ตามที่กฎหมายกำหนด
การกำกับดูแลเทศบาล
การกำกับดูแลเทศบาล มีด้วยกัน ๓ ด้าน คือ
ด้านที่ ๑ การกำกับดูแลด้านบุคคล
 
๑. ผู้ว่าราชการจังหวัด ประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล
๒. ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้เรียกประชุม สภาเทศบาลครั้งแรกหลังจากการเลือกตั้ง
สมาชิกเทศบาลแล้วเสร็จ
๓. ผู้ว่าราชการจังหวัด แต่งตั้งสมาชิกสภาเทศบาล เป็นประธาน และรองประธานสภา เทศบาลตามมติของสภาเทศบาลและแต่งตั้งนายกเทศมนตรี และเทศมนตรีตามความเห็นชอบของสภาเทศบาล
๔. ผู้ว่าราชการจังหวัดรับหนังสือลาออกของประธาน และรองประธานสภาเทศบาลตามมติของสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี และเทศมนตรี
๕. ผู้ว่าราชการจังหวัดสอบสวน และวินิจฉัยสมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาล
๖. ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาคำร้องให้เรียกประชุมสภาเทศบาล เพื่อพิจารณาว่าคณะเทศมนตรี หรือเทศมนตรีผู้ใด ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือมีความประพฤติเสื่อมเสียผู้ว่าราชการจังหวัดส่งคำร้องนั้น ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พิจารณาสั่งให้คณะเทศมนตรีทั้งคณะ หรือเทศมนตรีผู้ใดออกจากตำแหน่งหรือยกคำร้องก็ได้
ด้านที่ ๒ การกำกับดูแลด้านการบริหารงาน
 
๑. ผู้ว่าราชการจังหวัดอนุญาตให้ขยายเวลาประชุมสภาเทศบาลสมัยสามัญได้
๒. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศราชกิจจานุเบกษาให้นายกเทศมนตรี คณะ
เทศมนตรี ปลัดเทศบาล หัวหน้าแขวงในเขตเทศบาลมีอำนาจเปรียบเทียบคดีละเมิดเทศบัญญัติ
๓. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจอนุมัติให้เทศบาลทำกิจการนอกเขต หรือ
มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการเป็นผู้อนุมัติ
๔. ผู้ว่าราชการจังหวัด มีหน้าที่อนุมัติให้ความเห็นชอบร่างเทศบัญญัติและลงชื่ออนุมัติ
หากไม่เห็นชอบร่างเทศบัญญัติให้ส่งร่างนั้นพร้อมกับเหตุผลไปให้สภาเทศบาล หากสภาเทศบาลยืนยันตามร่างเดิม ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งร่างนั้นให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณา หากเห็นชอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดลงนาม หากไม่ให้ความเห็นชอบร่างเทศบัญญัตินั้นตกไป
๕. ปฏิบัติตามกฎหมายอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
ด้านที่ ๓ การกำกับดูแลด้านงบประมาณและการคลัง
๑. ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ในกรณีที่สภาให้ความเห็นชอบและผู้ว่าราชการจังหวัด
เห็นชอบให้ส่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณให้นายกเทศมนตรีลงนาม ถ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เห็นชอบให้ส่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณและเหตุผลให้สภาเทศบาลพิจารณาใหม่ ถ้าสภาเทศบาลยืนยันคะแนนเสียง๒ใน๓ของสมาชิกสภาเทศบาลให้นายกเทศมนตรีลงนามใช้บังคับเป็นเทศบัญญัติได้ และแจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบต่อไป
 
๒. ผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติให้เทศบาลจ่ายเงินอุดหนุนและการจ่ายเงินลงทุนตามความ
 
เห็นชอบของสภาเทศบาล สำหรับเรื่องการจัดการบริหารงานแบบเทศบาล

๓. องค์การบริหารส่วนจังหวัด ( อบจ. )
องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งที่มีขนาด
ใหญ่ที่สุดมีจังหวัดละ ๑ แห่งยกเว้นกรุงเทพมหานคร มีเขตพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมเขตจังหวัดมีงบประมาณในการพัฒนาท้องถิ่นแห่งละไม่ต่ำกว่า๑๐๐ล้านบาท โดยอบจ.บางแห่งได้รับงบประมาณถึง ๔๐๐ ล้านบาทหรือมากกว่านั้น ในขณะที่ท้องถิ่นอื่น เช่น อบต. บางแห่งมีงบประมาณมาไม่ถึง ๕ ล้านบาท
องค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นการจัดระเบียบบริหารส่วนราชการท้องถิ่นในรูปองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดเป็นไปตาม พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
 
การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด
องค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นองค์การปกครองท้องถิ่นที่จัดตั้งขึ้นในทุกจังหวัดตามพระ
ราชบัญญัติ มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีงบประมาณ ทรัพย์สินและข้าราชการเป็นของตนเอง
 
การจัดระเบียบองค์การบริหารส่วนจังหวัด
องค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วย สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และ นายก
องค์การบริหารส่วนจังหวัด ดังจะอธิบายโดยละเอียดดังนี้คือ
สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
 
ในจังหวัดหนึ่งให้มี สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วน
จังหวัดมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน โดยถือเกณฑ์ตามจำนวนราษฎรเลือกตั้งขึ้นตาม กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัดสำหรับสมาชิกสภาจังหวัดให้ถือเกณฑ์ตามจำนวนราษฎรแต่ละจังหวัดตามหลักฐานทะเบียนราษฎร์ที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้งดังนี้
๑. จังหวัดใดมีราษฎรไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ คน มีสมาชิกสภาจังหวัดได้ ๒๔ คน
 
๒. จังหวัดใดมีราษฎรเกินกว่า๕๐๐,๐๐๐คนแต่ไม่เกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐คนมีสมาชิกได้ ๓๐ คน
๓. จังหวัดใดมีราษฎรเกินกว่า ๑,๐๐,๐๐๐คนแต่ไม่เกิน๑,๕๐๐,๐๐คน มีสมาชิกได้ ๓๖ คน
๔. จังหวัดใดมีราษฎรเกินกว่า๑,๕๐๐,๐๐๐คนแต่ไม่เกิน๒,๐๐๐,๐๐๐คนมีสมาชิกได้๔๒ คน
๕. จังหวัดใดมีราษฎรเกินกว่า ๒,๐๐๐,๐๐๐ คน ขึ้นไป มีสมาชิกได้ ๔๘ คน
สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอยู่ในตำแหน่งคราวละ ๔ ปี
 
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีวาระการทำงาน ๔ ปี และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสามารถแต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งมิใช่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อช่วยบริหารงาน ดังนี้
 

๑. ในกรณีมีสมาชิก ๔๘ คน ให้มีรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้ ๔ คน
๒. ในกรณีมีสมาชิก ๓๖-๔๒ คน ให้มีรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้ ๓ คน
๓. ในกรณีมีสมาชิก ๒๔-๓๐ คน ให้มีรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้ ๒ คน
ข้าราชการส่วนจังหวัด
สำหรับเจ้าหน้าที่อื่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้นได้แก่ ข้าราชการส่วนจังหวัดซึ่งรับ
เงินเดือนจากงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ข้าราชการส่วนจังหวัดมีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาและมีรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกับปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารองจากนายกองค์กรบริหารส่วนจังหวัด
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการส่วนจังหวัดภายในเขตจังหวัด ดังต่อไปนี้
๑. ตราข้อบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย
๒ จัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด
ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
๓. สนับสนุนสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาท้องถิ่น
๔. ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่น
๕. แบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่สภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่น
๖. อำนาจหน้าที่ของจังหวัดตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๔๙๘ เฉพาะภายในเขตสภาตำบล
๗. คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและท้องถิ่น
๘. จัดกิจกรรมใดๆอันเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัดและกิจการนั้นเป็นการสมควรให้ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นร่วมกันดำเนินการ หรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำ ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
๙. จัดทำกิจการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
บรรดาอำนาจหน้าที่ซึ่งเป็นของราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคอาจมอบให้
องค์การบริหารส่วนจังหวัดปฏิบัติได้ ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
นอกจากนี้องค์การบริหารส่วนจังหวัดยังมีอำนาจหน้าที่ที่กำหนดในกฎกระทรวงดังนี้ คือ
๑. องค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจจัดกิจกรรมใดๆอันเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วน
ท้องถิ่นหรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดอื่นที่อยู่นอกเขตจังหวัดได้เมื่อได้รับคำยินยอมจากราชการส่วนท้องถิ่นอื่น หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการและเงื่อนงำที่กำหนดในกฎกระทรวง
๒. กิจการใดเป็นกิจการที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดพึงจัดทำตามอำนาจหน้าที่ ถ้าองค์
การบริหารส่วนจังหวัดไม่จัดทำ รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจมีคำสั่งให้ราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคจัดทำกิจการส่วนนั้นได้
ในกรณีที่ราชการส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาคจักทำกิจการตามวรรคหนึ่งให้คิดค่าใช้จ่ายและค่าภาระต่างๆตามความเป็นจริงได้ตามอัตราและระยะเวลาที่เหมาะสม
๓. องค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ
 
รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่น โดยเรียกค่าบริการได้ โดยตราเป็นข้อบัญญัติ
๔. องค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจมอบให้เอกชนกระทำกิจการซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดและเรียกเก็บเป็นค่าธรรมเนียม ค่าบริการหรือค่าตอบแทนที่เกี่ยวข้องแทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดเสียก่อน
 
๕. การดำเนินกิจการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดมีลักษณะเป็นการพาณิชย์อาจทำได้
โดยการตราเป็น ข้อบัญญัติ ทั้งนี้ตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
 
การตราข้อบัญญัติ
ข้อบัญญัติจะตราขึ้นได้ในกรณีดังต่อไปนี้
๑. เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่กำหนดไว้ในพระ
ราชบัญญัตินี้
๒. เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดตราข้อบัญญัติหรือให้มีอำนาจตรา
ข้อบัญญัติ
๓. การดำเนินการพาณิชย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดตามมาตรา ๕๐
 
ในข้อบัญญัติจะกำหนดโทษ ผู้ละเมิดข้อบัญญัติไว้ด้วยก็ได้แต่ห้ามมิให้กำหนดโทษจำคุก
เกิน ๖ เดือน และหรือปรับเกิน ๑๐,๐๐๐.-บาท (หนึ่งหมื่นบาท) เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
การทำกิจการนอกเขต
องค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจทำกิจกรรมนอกเขตได้ เมื่อได้รับความยินยอมจากราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดอื่นภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อบัญญัติจังหวัด
องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจในการตราข้อบัญญัติจังหวัดโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ และข้อบัญญัติจังหวัดใช้ในจังหวัดนั้นๆ
การคลังและทรัพย์สินส่วนจังหวัด
องค์การบริหารส่วนจังหวัด มีงบประมาณ รายได้ รายจ่าย และทรัพย์สินเป็นของตนเองใน
กรณีที่คล้ายคลึงกับกรณีของเทศบาล
การควบคุมองค์การบริหารส่วนจังหวัด
องค์การบริหารส่วนจังหวัดอยู่ภายใต้การควบคุมของราชการบริหารส่วนกลางซึ่งดำเนินการควบคุมโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและผู้ว่าราชการจังหวัด โดยวิธีการดังต่อไปนี้
๑. ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจกำกับดูแลการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วน
จังหวัดให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ และระเบียบข้อบังคับของทางราชการ เพื่อการนี้ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงหรือสั่งให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดชี้แจงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดได้
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่านายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปฏิบัติการในทางที่อาจนำมาซึ่งความเสียหายแก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด
หรือกระทำการฝ่าฝืนกฎหมาย กฎ หรือระเบียบข้อบังคับของทางราชการ ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจยับยั้งการปฏิบัติการดังกล่าวไว้เป็นการชั่วคราวได้ แล้วให้รายงานรัฐมนตรีภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่ออกคำสั่ง
ให้รัฐมนตรีวินิจฉัยสั่งการในเรื่องดังกล่าวภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ได้รับรายงานจากผู้ว่าราชการจังหวัด คำสั่งของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
๒. ผู้ว่าราชการจังหวัด อาจเพิกถอนมติ ของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งมิใช่
ข้อบัญญัติได้ ในกรณีที่ปรากฏว่ามตินั้นฝ่าฝืนกฎหมาย กฎ หรือระเบียบข้อบังคับของทางราชการหรือเป็นมติที่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
คำสั่งเพิกถอนของผู้ว่าราชการจังหวัดต้องแสดงเหตุผลของการเพิกถอนและต้องกระทำภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมรมติ
ในกรณีที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดยังยืนยันด้วยมติเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเท่าที่มีอยู่ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด รายงานการยืนยันมติดังกล่าวและเหตุผลของการเพิกถอนของผู้ว่าราชการจังหวัดต่อรัฐมนตรีภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีมติยืนยันมติเดิม
ให้รัฐมนตรีวินิจฉัยสั่งการในเรื่องดังกล่าวภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับรายงานจากผู้ว่าราชการจังหวัด
๓. ในกรณีที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดละเลยไม่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่หรือปฏิบัติ
การไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่หรือประพฤติตนฝ่าฝืนความเรียบร้อยของประชาชนผู้ว่าราชการสามารถจะดำเนินการสอบสวนได้โดยตั้งคณะกรรมการสอบสวนหรือส่งเรื่องให้ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ หรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ดำเนินการสอบสวนก็ได้ ผลการสอบสวนให้ผู้ว่าราชการจังหวัด เสนอให้รัฐมนตรีสั่งให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ้นจากตำแหน่ง คำสั่งของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
๔. รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจยุบสภาองค์การบริหารส่วน
จังหวัดเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดใหม่
คำสั่งยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ต้องแสดงเหตุผลและกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดใหม่ภายใน ๔๐วันนับแต่วันที่รัฐมนตรีมีคำสั่งยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
๓. องค์การบริหารส่วนตำบล ( อบต. )
ความเป็นมาขององค์การบริหารส่วนตำบลจัดตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นรูปการปกครองท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งต่อมาได้ถูกยกเลิกไปโดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ แล้วจัดตั้งสภาตำบล โดยสภาตำบลรูปแบบนี้ทำงานมาจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๗ จึงมีพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ โดยปรับปรุงฐานะของสภาตำบลให้มรฐานะเป็นนิติบุคคล และปรับปรุงการบริหารงานของสภาตำบลใหม่ให้สามารถรองรับอำนาจไปสู้ภาคประชาชน พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ จากพระราชบัญญัติทำให้มีรูปแบบ ๒ รูปแบบ
 
๑. รูปแบบสภาตำบล ได้รับการยกฐานะเป็นนิติบุคคล ได้แก่สภาตำบลที่มีรายได้โดยไม่
รวมเงินอุดหนุนต่ำกว่า ๑๕๐,๐๐๐.- บาท
๒. รูปแบบองค์การบริหารส่วนตำบล ( อบต. ) ตั้งขึ้นจากสภาตำบลซึ่งมีรายได้ โดยไม่
รวมเงินอุดหนุน ในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปี เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ๑๕๐,๐๐๐.-บาทได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
 
ในปีพ.ศ. ๒๕๔๒ รัฐบาลได้เสนอขอให้ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๔๒ เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ ดังจะขออธิบายสรุป
องค์การบริหารส่วนตำบล ( อบต. )เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับตำบลที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด จัดตั้งขึ้นมาจากสภาตำบลที่มีรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้จึงจะให้ยกฐานะเป็น อบต. มีจุดมุ่งหมายสำคัญในการจัดตั้งก็คือ เพื่อดูแลทุกข์สุขและให้บริการประชาชน ในหมู่บ้านและตำบลแทนรัฐบาลหรือส่วนกลาง ที่ไม่สามารถดูแลประชาชนเจ็ดหมื่นกว่าหมู่บ้านทั่วประเทศได้อย่างทั่วถึงเช่น ในพื้นที่ห่างไกล อบต.สามารถช่วยเหลือประชาชนได้อย่างรวดเร็วและป้องกันภัยไว้ล่วงหน้าโดยการมีอุปกรณ์ป้องกันภัยหรือช่วยเหลือผู้ประสบภัยเบื้องต้นได้
องค์การบริหารส่วนตำบล จัดตั้งโดยประกาศของกระทรวงมหาดไทยและประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยมีเกณฑ์คือ สภาตำบลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปีไม่ต่ำกว่าปีละ ๑๕๐,๐๐๐.-บาท ( หมวด ๒ องค์การบริหารส่วนตำบล มาตรา ๔๐ )
โครงสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบล
 
องค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วย สภาองค์การบริหารส่วนตำบล และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ดังอธิบายคือ
 
๑. สภาองค์การบริหารส่วนตำบล
สภาองค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวนหมู่บ้านละ ๒ คน ซึ่งเลือกตั้งโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น ในกรณีที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลใดมีเพียง ๑ หมู่บ้านให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน ๖ คนและในกรณีที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลใดมีเพียง ๒หมู่บ้านให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นประกอบด้วยสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวนหมู่บ้านละ ๓ คนและในกรณีที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลใดมีมากกว่า ๒ หมู่บ้านให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นประกอบด้วยสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวนหมู่บ้านละ ๒ คน
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมาจาก การเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
 
อายุสภาองค์การบริหารส่วนตำบล มีกำหนดวาระละ ๔ ปี
อำนาจหน้าที่ของสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ( มาตรา ๔๖ )
๑. ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาตำบลเพื่อเป็นแนวทางในการบริหารกิจการขององค์การ
บริหารส่วนตำบล
๒. พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างข้อบังคับตำบล ร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่าย
ประจำปี และร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
๓. ควบคุมการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารให้เป็นไปตามนโยบายของแผนพัฒนา
ตำบลตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ
๔. ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเรียกว่า "ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล" เช่นการใช้
น้ำประปาหมู่บ้าน
คุณสมบัติของผู้สมัครสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ( มาตรา ๔๗ )
๑. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
๒. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันรับสมัครรับเลือกตั้งหรือได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน
๓. มีคุณสมบัติตามมาตรา ๙ (๑) และ(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่า ๓๕ ปีบริบูรณ์ สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าหรือเคยเป็นสมาชิกสภาตำบล สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่นหรือสมาชิกรัฐสภา
๔. ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๙ ติดยาเสพติดให้โทษ เป็นบุคคลล้มละลาย
 
๕. ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญากับองค์การบริหารส่วนตำบลที่ตนสมัครรับเลือกตั้งหรือในกิจการที่กระทำให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลนั้น
๖. ไม่เคยถูกผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้ออกจากตำแหน่ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือแพทย์ประจำตำบลเว้นแต่จะพ้น ๕ ปีนับแต่วันพ้นจากตำแหน่งจนถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
๗. ไม่เคยถูกสภาตำบลมีมติให้พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาตำบล หรือไม่เคยถูกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีมติให้พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เว้นแต่จะพ้น ๕ ปีนับแต่วันพ้นจากตำแหน่งจนถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
สมาชิกภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สิ้นสุดลง ( มาตรา ๔๗ ตรี )
๑. ถึงคราวออกตามอายุ
๒. ตาย
๓. ลาออกโดยยื่นหนังสือลาออกต่อนายอำเภอ
๔. เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญากับองค์การบริหารส่วนตำบล
๕. ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม
๖. มิได้อยู่ในหมู่บ้านที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นระยะเวลาติดต่อกันเกิน ๖ เดือน
๗. ขาดประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลติดต่อกัน 3 ครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันควร
๒. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มี ๑ คน นายก
อบต. สามารถแต่งตั้งรองนายก อบต. ที่มิใช่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลได้ ๒ คน เพื่อช่วยบริหารงาน อยู่ในวาระการทำงานคราวละ ๔ ปี
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ดังนี้ ( ตาม
มาตรา ๕๙)
๑. บริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามมติ ข้อบังคับและแผนพัฒนา
ตำบล และรับผิดชอบการบริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบล ต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
 
๒. จัดทำแผนพัฒนาตำบล และงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อเสนอให้สภาองค์การ
บริหารส่วนตำบล พิจารณาให้ความเห็นชอบ
๓. รายงานผลการปฏิบัติงานและการจ่ายเงินให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ทราบอย่าง
น้อยปีละ ๒ ครั้ง
๔. เป็นหัวหน้าผู้บริหารสูงสุดของพนักงาน อบต.
๕. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ราชการมอบหมาย
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้าน เศรษฐกิจ สังคม
และวัฒนธรรม ( มาตรา ๖๖ ) และภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย ( มาตรา ๖๗ ) องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่พอสรุปคือ
๑. จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
๒. รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะรวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
๓. ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
๔. ป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย
๕. ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
๖. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ
๗. คุ้มครองดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๘. บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
๙. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ราชการมอบหมาย
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ( ฉบับที่ ๓ ) พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้
ยกเลิก มาตรา ๖๗ ( ๘ ) และให้ใช้มาตรา ๑๕ ของ พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ( ฉบับที่ ๓ ) พ.ศ. ๒๕๔๒ คือต้องจัดทำกิจการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล พอสรุป คือ
๑. ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
๒. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
๓. ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
๔. ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
๕. ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์
๖. ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
๗. บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
๘. การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน
๙. หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล
๑๐. ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
๑๑. กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
๑๒. การท่องเที่ยว
๑๓. การผังเมือง

4. กรุงเทพมหานคร
การจัดตั้งกรุงเทพมหานคร เริ่มภายหลังที่คณะปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองประเทศเมื่อ
วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔ โดยได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๒๔และ ๒๕ ออกมาในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ให้รวมจังหวัดพระนครและธนบุรีเข้าด้วยกันเรียกว่านครหลวงกรุงเทพธนบุรี และให้รวมเทศบาลเข้าด้วยกัน เรียกว่าเทศบาลนครหลวง และให้ผู้ว่าราชการนครหลวงกรุงเทพธนบุรีดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครหลวงในขณะเดียวกัน
ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ จึงได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๓๓๕ ออก มาปรับปรุงการปกครองนครหลวงอีกครั้งหนึ่ง โดยให้ยุบหน่วยงานจังหวัดในฐานะราชการส่วนภูมิภาค และหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด แล้วจัดตั้งองค์กรใหม่ เรียกว่า
"กรุงเทพมหานคร"มีฐานะเป็นจังหวัดพิเศษภายใต้การดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งกระทรวงมหาดไทย แต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีการปกครองนครหลวงตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 ปรากฏว่าดำเนินการด้วยดีพอสมควร
 
"กรุงเทพมหานคร" มีฐานะเป็นจังหวัดตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แต่เป็นจังหวัดพิเศษภายใต้การดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานคร โดยที่ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับนี้มุ่งเน้นให้การปกครองดำเนินไปโดยประหยัดมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับนโยบายส่วนกลางทั้งสิ้นประชาชนยังไม่มีส่วนร่วมในการปกครอง รูปกรุงเทพมหานครซึ่งตั้งตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับนี้ จึงมีฐานะเป็นจังหวัดอันเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาค เป็นจังหวัดพิเศษ
ใน ปีพ.ศ. ๒๕๑๘ คณะปฏิวัติได้ประกาศยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๓๓๕ และประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ. ๒๕๑๘ และมีการปรับปรุงโครงสร้างใหม่ให้มีรูปแบบการปกครองท้องถิ่น โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องเมืองการปกครองและกรุงเทพมหานครมีฐานะเป็นทบวงการเมือง มีลักษณะเป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นนครหลวงกรุงเทพมหานคร จึงเป็นการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ที่เรียกว่า "การปกครองท้องถิ่นนครหลวง" และได้กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง และให้มีอิสระในการดำเนินงานมากขึ้นด้วย แต่การบริหารกรุงเทพมหานคร ตามกฎหมายฉบับนี้นำเนินการมาจนถึงที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๒๐ ก็ได้มีคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา ๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๑๙ สั่งยุบสภากรุงเทพมหานคร และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กับรองผู้ว่าราชการกุรงเทพมหานคร ที่มาจากการเลือกตั้งพ้นจากตำแหน่ง แล้วใช้วิธีการแต่งตั้งแทน และในคำสั่งดังกล่าวก็สั่งให้ กระทรวงมหาดไทย ดำเนินการปรับปรุงพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครเสียใหญ่ ให้เหมาะสมและให้เสร็จภายใน ๒ ปี แต่ปรากฏว่า หลังจากพ้นกำหนด ๒ ปีแล้ว ได้มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครที่มาจากการแต่งตั้งออกมาขยายอายุสมาชิกสภาและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กับรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่มาจากการแต่งตั้งออกไปจนกว่า จะมีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ พระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ ได้ประกาศใช้ในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งมีสาระสำคัญและโครงสร้างคล้ายกับพระราชบัญญัติบริหารราชการกรุงเทพมหานครฉบับ พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นส่วนมาก กล่าวคือ องค์การบริหารกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย สภากรุงเทพมหานครกับ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง และทำให้มีส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมคือ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมาจากการเลือกตั้งเพียงคนเดียว และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้งเป็นคณะหรือเป็นทีม และให้มีสภาเขตในทุกเขต ซึ่งเลือกตั้งโดยประชาชนในเขตและให้เปลี่ยนหรือเรียกตำแหน่งใหม่ว่า ผู้อำนวยการเขตและกำหนดตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่ากรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษา เป็นข้าราชการการเมือง
การจัดองค์การและการบริหาร
 
การจัดองค์การของกรุงเทพมหานคร มีรูปแบบและโครงสร้างเป็นแบบการแบ่งแยกอำนาจ ที่เรียกว่า "Separation of Power" ตามแบบการปกครองแบบประธานาธิบดี โดยองค์การต่างๆ จะปฏิบัติตามหน้าที่ของตน ไม่ก้าวก่ายการทำงานของกันและกัน กล่าวคือ สภากรุงเทพมหานครมีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ ส่วนผู้ว่ากรุงเทพมหานครก็จะทำหน้าที่ในทางบริหาร แบ่งแยกหน้าที่กันไปเลยซึ่งต่างจากการปกครองท้องถิ่นในรูปเทศบาล (สมาชิกสภาเทศบาลก็มีอำนาจในการบริหารและทำหน้าที่ในด้านนิติบัญญัติในตำแหน่งเดียวกัน )
โครงสร้างการบริหารกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย
๑. สภากรุงเทพมหานคร
๒. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
 
๓. เขตและสภาเขต
 
สำหรับโครงสร้างการบริหารกรุงเทพมหานคร ดังจะอธิบายพอสรุปคือ
๑. สภากรุงเทพมหานคร
สภากรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งจากเขตต่างๆ ของ
กรุงเทพมหานคร โดยคำนวณจากราษฎรหนึ่งแสนคนต่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ๑ คน ทั้งนี้ให้ถือเขตแต่ละเขตเป็นเขตเลือกตั้ง เขตใดมีราษฎรไม่ถึงหนึ่งแสนก็ให้มีสมาชิกสภากรุงเทพฯได้หนึ่งคน และถ้าเขตใดมีราษฎรเกินหนึ่งแสนก็ให้มีสมาชิกสภากรุงเทพฯเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนต่อจำนวนราษฎรทุกหนึ่งแสนคน เศษของหนึ่งแสนถ้าถึงห้าหมื่นหรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งแสน
สภากรุงเทพมหานครมีอายุวาระละ ๔ ปีนับตั้งแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพฯสมาชิก
ภาพของสมาชิกกรุงเทพมหานคร สิ้นสุดโดยสรุป คือ
๑. มีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
๒. ตาย
๓. ลาออก โดยยื่นหนังสือต่อประธานสภากรุงเทพมหานคร
๔. ขาดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับสมัครเลือกตั้ง หรือลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิ
๕. การกระทำอันต้องห้าม
๖. ถูกจำคุกโดยศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
๗. ขาดประชุมสภากรุงเทพมหานครตลอดสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลา ๓๐ วัน
๘. สภากรุงเทพมหานครวินิจฉัยให้ออก
สภากรุงเทพมหานครอาจถูกยุบก่อนครบวาระได้ด้วยเหตุผลพอสรุปต่อไปนี้
๑. ผู้ว่าราชการกรุงเทพ เป็นผู้เสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศยุบสภา
กรุงเทพมหานครเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ เมื่อมีกรณีการดำเนินงานขัดแย้งกันมาก
๒. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อาจเสนอคณะรัฐมนตรีให้ประกาศยุบสภา
กรุงเทพมหานครเมื่อเห็นว่าการบริหารงานของกรุงเทพมหานครอาจก่อให้เกิดความเสียหาย แก่ประเทศชาติ
อำนาจหน้าที่ของสภากรุงเทพมหานคร พอสรุปได้ดังนี้คือ
๑. มีอำนาจในการตราข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร โดยให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
๒. พิจารณาอนุมัติงบประมาณ การใช้จ่ายต่างๆ เพื่อกิจการของกรุงเทพมหานครให้สภา
สภากรุงเทพมหานครอนุมัติ
๓. การควบคุมฝ่ายบริหาร โดยการตั้งกระทู้ถามผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๒. ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร
 

ผู้ว่ากรุงเทพมหานครทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานครและอยู่ในวาระละ ๔
ปีในกรณีที่ผู้ว่ากรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งเมื่อครบวาระให้เลือกตั้งใหม่ภายใน ๖๐ วันแต่ถ้าเป็นกรณีอื่นให้เลือกตั้งใหม่ภายใน ๙๐ วัน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจและหน้าที่ พอสรุปคือ
๑. กำหนดนโยบายและบริหารราชการกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมาย
๒. สั่งอนุญาต อนุมัติ เกี่ยวกับงานของกรุงเทพมหานคร
๓. การแต่งตั้งและการถอดถอน รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเลขานุการรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและแต่งตั้งถอดถอนผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา หรือคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือคณะกรรมการต่างๆ
๔. บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทย มอบหมาย
๕. วางระเบียบเพื่อให้งานของกรุงเทพมหานครเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
๖. รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
๗. อำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นผู้บังคับบัญชา ข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้าง
สังกัดกรุงเทพมหานครและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร สำหรับข้าราชการในสังกัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติงานประจำของกรุงเทพมหานครและปฏิบัติงานตามที่กำหนดในกฎหมายกรุงเทพมหานคร โดยมีปลัดกรุงเทพมหานครเป็นตำแหน่งข้าราชการประจำกรุงเทพมหานครสูงสุด ส่วนตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นตำแหน่งทางการเมือง ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นหัวหน้ารับผิดชอบดูแลงานประจำและเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร รองจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ กำหนดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยตรงจากราษฎรและมีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) กรุงเทพมหานครมีผู้ว่า ปัจจุบันผู้ว่ากรุงเทพมหานครเป็นคนที่ ๖มาจากพรรคประชาธิปัตย์
๓. เขตและสภาเขต
เขตและสภาเขตเกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร เขตและสภาเขตจัดระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พอสรุปคือ
๑. สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
๒. สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๓. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
๔. สำนักงานปลัดกรุงเทพมหานคร
๕. สำนักหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นสำนัก
๖. สำนักงานเขต
เขต เป็นหน่วยปฏิบัติการของกรุงเทพมหานครในแต่ละเขตมีสำนักงานเขตและสภาเขต
 
( ถ้าเทียบเคียงเขตกับอำเภอน่าจะคล้ายๆ กัน ) เขตในกรุงเทพมหานครมีจำนวน ๕๐ เขต
สำนักงานเขต เป็นองค์กรบริหารของเขต มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการกรุงเทพมหานครในเรื่องการให้บริการเช่น การทะเบียนต่างๆ การทำบัตรประชาชน การแก้ปัญหาต่างๆในเขต การซ่อมแซมถนน การซ่อมท่อระบายน้ำ การแก้ปัญหาน้ำท่วม การจัดเก็บขยะมูลฝอย เขตจึงเป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดกับประชาชนโดยตรง
สำนักงานเขตมี ผู้อำนวยการเขตเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร ดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติราชการภายในเขตให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย
ผู้อำนวยการเขตมีหน้าที่
 
๑. อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ
๒. อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติเป็นอำนาจหน้าที่ผู้อำนวยการเขต
๓. อำนาจหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และปลัดกรุงเทพฯ
สภาเขต เขตหนึ่งมีสภาเขตประกอบไปด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งโดยราษฎร ใน
เขตมีจำนวนอย่างน้อยเขตละ ๗ คน ต่อจำนวนราษฎรทุกหนึ่งแสนคนให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตนั้นเพิ่มขึ้นอีก ๑ คนต่อจำนวนราษฎรทุกหนึ่งแสนคน เศษของหนึ่งแสนถ้าถึงห้าหมื่นหรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งแสน
 
สภาเขตมีวาระละ ๔ ปี
 
สภาเขตมีประธานสภาเขตคนหนึ่งและรองประธานสภาเขตอีกคนหนึ่งซึ่งเลือกสมาชิกสภาเขตให้มีวาระดำรงตำแหน่งวาระละ ๑ ปี
 
สภาเขตมีอำนาจหน้าที่ พอสรุปได้ดังนี้
๑. ให้ข้อคิดเห็นและข้อสังเกตเกี่ยวกับแผนพัฒนาเขต ต่อผู้อำนวยการเขตและผู้ว่า
๒. จัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาเขต
๓. ติดตามดูแลการทำงานของสำนักงานเขตให้เป็นไปตามกฎหมายและให้บริการ
๔. แนะนำหรือให้ข้อสังเกตในการให้บริการประชาชน
๕. ให้คำปรึกษาแก่ผู้อำนวยการเขตเมื่อร้องขอ
๖. แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
๗. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด
อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครพอสรุปได้ดังนี้ คือ
๑. การักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
๒. การทะเบียนตามที่กฎหมายกำหนด
๓. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
๔. การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
๕. การผังเมือง
๖. การจัดให้มีและการบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
๗. การวิศวกรรมจราจร
๘. การขนส่ง
๙. การจัดให้มีและการควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้ามและที่จอดรถ
๑๐. การดูแลรักษาที่สาธารณะ
๑๑. การควบคุมอาหาร
๑๒. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
๑๓. การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
๑๔. การพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
๑๕. การสาธารณูปโภค
๑๖. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล
๑๗. การจัดให้มีและการควบคุมสุสานและ ฌาปนสถาน
๑๘. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
๑๙. การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
๒๐. การควบคุมความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในวงมหรสพ
๒๑. การจัดการศึกษา
๒๒. การสาธารณูปการ
๒๓. การสังคมสงเคราะห์
๒๔. การส่งเสริมการศึกษา
๒๕. การส่งเสริมการประกอบอาชีพ
๒๖. การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
๒๗. หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด
อำนาจหน้าที่ใดซึ่งเป็นของราชการบริหารส่วนกลางหรือราชการบริหารส่วนภูมิภาคอาจจะ
 
มอบให้กรุงเทพมหานครปฏิบัติก็ได้โดยให้ทำเป็นพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ข้อบังคับหรือประกาศแล้วแต่กรณี ในกรณีที่ทำเป็นข้อบังคับ หรือประกาศ ต้องได้รับความเห็นชอบก่อนจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓ )พ.ศ. ๒๕๓๙
จากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่๓ ) พ.ศ. ๒๕๓๙ อธิบาย เรื่องต่อไปนี้
 
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกกรุงเทพมหานคร ( มาตรา ๑๒ )
๑. มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี
๒. มีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๘ ปีบริบูรณ์ในวันที่ ๑ มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง และ
๓. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันจนถึงวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า ๙๐ วัน
บุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร( มาตรา ๑๖ ) คือ
๑. ติดยาเสพติดให้โทษ
๒. เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นจากคดี
๓. เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา ๑๓ (๑) (๓) หรือ(๕)
 
๔. ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
๕. เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไปโดยพ้นโทษมายังไม่ถึง๕ปีในวันเลือกตั้ง
 
เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
๖. เป็นบุคคลหูหนวกและเป็นใบ้
๗. เป็นสมาชิกสภาซึ่งมีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหาร
ท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
๘. เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาซึ่งมีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ สมาชิกสภา
ท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
๙. เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
๑๐. เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วน
ท้องถิ่น
๑๑. เป็นบุคคลซึ่งทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจไล่ออก ปลดออก ให้ออก หรือเลิกจ้าง
เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่าการกระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
๑๒. เป็นผู้ถูกถอดถอนให้ออกจากตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครถึงวันเลือกตั้งยัง
ไม่ครบ ๔ ปี
๑๓. เป็นผู้ถูกให้ออกจากตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามมาตรา๒๓(๘) ถึงวัน
สมัครรับเลือกตั้งยังไม่ครบ ๔ ปี
๑๔. เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวย
ผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
ปัญหาการบริหารกรุงเทพมหานคร
จากการศึกษาของวันชัย มีชาติ จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบบการบริหารของกรุงเทพมหานครมีปัญหาสำคัญ คือ
๑. ภาระหน้าที่ของกรุงเทพมหานครซ้ำซ้อนกับงานของการบริหารราชการส่วนกลางซึ่งอยู่
ในเขตกรุงเทพมหานครจึงเกิดความขัดแย้งกัน ขาดเอกภาพและงานที่เกี่ยวข้องกัน งานที่คาบเกี่ยวกัน
๒. อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครไม่สมดุลกันขณะที่กรุงเทพมหานครมีหน้าที่ความรับผิดชอบถึง ๒๗ ข้อตามพระราชบัญญัติระเบียบการบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ แต่กลับไม่มีอำนาจในการแก้ไขปัญหาหรือป้องกันมิให้เกิดปัญหาขึ้นเพราะกฎหมายให้อำนาจหน่วยงานของส่วนกลางไว้แทบทั้งหมด
๓. การศึกษาของตัวบทกฎหมายเกี่ยวกับสุขาภิบาลเทศบาลและองค์การบริหารส่วนจังหวัดในแง่ที่ว่าหน้าที่หลักๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นล้วนแต่คัดลอกกันมาโดยข้าราชการของกระทรวงมหาดไทย เพื่อกำหนดเป็นหน้าที่ขององค์กรเหล่านั้นแต่ไม่ได้พิจารณาความเป็นจริงที่ว่า เมืองมีภารกิจมากมายที่องค์กรบริหารเมืองควรดูแลได้เอง ไม่ใช่ถูกผูกขาดโดยหน่วยงานของรัฐบาลกลาง เช่น กิจการโทรศัพท์ กิจการไฟฟ้า และกิจการตำรวจ
อำนาจอันจำกัดของเทศบาลนครและระดับมหานครในประเทศไทยส่วนหนึ่งก็คือ พื้นฐานความคิดของกระทรวงมหาดไทยที่ยังไม่เปลี่ยนจากการเห็นว่า ผู้บริหารท้องถิ่นมีหน้าที่หลักคือดูแลรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ซึ่งปัจจุบันสังคมเปลี่ยนแปลงไปมากในช่วง ๑๐๐ ปี มานี้แต่อำนาจและวิธีคิดของรัฐบาลกลางก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงเท่าใดนัก กรุงเทพมหานครจึงขาดผู้บริหารท้องถิ่นที่มีอำนาจอย่างเหมาะสม
๔. ปัญหาการบริหารภายในของกรุงเทพมหานครเอง เช่น อำนาจการตัดสินใจมีการกระจุก ตัวขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ การแบ่งงานระหว่างเขตและสำนักงานกลางไม่ชัดเจน
 
๕. กรุงเทพมหานครควรเปลี่ยนแนวคิดจากนักปกครองเป็นนักวิชาการเพื่อฟังเสียงเรียกร้องของประชาชน งานผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องอดทน อดกลั้นเพราะเป็นงานบริการต้องทำงานตลอด 24 ชั่วโมงส่วนใหญ่เป็นงานภาคสนามต้องออกพื้นที่ต้องทำงานเป็นทีมทำงานร่วมกันจะเพียงแต่กำหนดนโยบายไม่ได้
 
๕. เมืองพัทยา
เมืองพัทยาเป็นการปกครองท้องถิ่นรูปพิเศษที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลมีพื้นที่คลุม๔ตำบล คือ
ตำบลนาเกลือ ตำบลหนองปรือ ตำบลหนองปลาไหล และตำบลห้วยใหญ่ รวมไปถึงเกาะล้าน เกาะครก และเกาะสาก อ. บางละมุง จ.ชลบุรี รวมพื้นที่ประมาณ ๒๐๘.๑ ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่บนบก ๒๒.๒ ตารางกิโลเมตร มีประชากรเมื่อเริ่มจัดตั้ง ๒๙,๐๐๐ คน
 
เมืองพัทยาจึงเป็นรูปแบบการปกครองที่รวมเอาหมู่บ้าน ๓ หมู่บ้าน และ ๓ เกาะเข้ารวมกันและจัดตั้งเป็นสุขาภิบาลนาเกลือในปีพ.ศ. ๒๔๙๙ และรวมหมู่บ้านหนองปรือเข้าในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๕๑๑ ได้มีพระราชบัญญัติเมืองพัทยาให้เป็นเขตการปกครองตนเอง โดยมุ่งหวังทดลองนำรูปแบบเมืองเทศบาลที่ใช้ในสหรัฐอเมริกามาใช้ในเมืองพัทยา มีลักษณะเป็นรูปแบบผู้จัดการเมืองพัทยา(City Manager) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า"Council and manager form" มาใช้กับเมืองพัทยาโดยแยกการใช้อำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารออกจากกัน เพื่อให้ได้ผู้บริหารเป็นนักบริหารมืออาชีพ ปลอดจากสภาพการเป็นนักการเมือง บุคคลที่ได้รับการว่าจ้างตามสัญญาของสภาท้องถิ่น ซึ่งเป็นการทดลองและริเริ่มใช้กับเมืองพัทยาเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ในปี ๒๕๔๐ มีประกาศรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ จึงมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และมีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พุทธศักราช ๒๕๔๒ โดยมีสาระสำคัญพอสรุปได้ดังนี้
การจัดตั้งเมืองพัทยา ( หมวด ๑ มาตรา ๗ )
เมืองพัทยาเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอาณาเขตตามเขตเมืองพัทยาที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้เมืองพัทยามีฐานะเป็นนิติบุคคล การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตเมืองพัทยาให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา การบริหารเมืองพัทยาประกอบด้วย สภาเมืองพัทยา และนายกเมืองพัทยา
 

สภาเมืองพัทยา ( มาตรา ๙ )
สภาเมืองพัทยา ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน ๒๔ คน ซึ่งเลือกตั้งโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเมืองพัทยา ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกว่างลงไม่ว่าเหตุใดและยังมิได้มีการเลือกตั้ง ขึ้นแทนในตำแหน่งทีว่างให้สภาเมืองพัทยาประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่