^3^ ประวัติการปกครองของไทย

การเมืองการปกครองสมัยสุโขทัย
      อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งยังมีอาณาเขตไม่กว้างขวาง      มีจำนวนพลเมืองยังไม่มากและอยู่ในระหว่างการก่อร่างสร้างตัว  การปกครองในระยะแรกจึงยังเป็นการปกครองระบบแบบครอบครัว   ผู้นำของอาณาจักรทำตัวเหมือนบิดาของประชาชน  มีฐานะเป็นพ่อขุน  มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชน         ต่อมาหลังสมัยพ่อขุนรามคำแหงสถานการณ์ของบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป  จึงเริ่มใช้การปกครองที่เป็นแบบแผนมากขึ้น  ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับประชาชนแตกต่างไปจากเดิม      ความพยายามที่จะเพิ่มพูนอำนาจของกษัตริย์ให้สูงทรงมีฐานะเป็นธรรมราชา และทรงใช้หลักธรรมมาเป็นแนวทางในการปกครอง
ลักษณะการปกครองในสมัยสุโขทัย
การปกครองในสมัยสุโขทัยแบ่งเป็น 2 ระยะคือ
1.      สมัยสุโขทัยตอนต้น   เริ่มตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ไปถึงสิ้นสมัยของพ่อขุนรามคำแหง
2.      สมัยสุโขทัยตอนปลายตั้งแต่สมัยพระยาเลอไทยไปถึงสมัยสุโขทัยหมดอำนาจ
                                                  การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น ( พ.ศ. 1792  -1841 )
      หลังจากที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นมาแล้วได้พยายามขจัดอิทธิพลของขอมให้หมดไปจึงได้จัดระบบการปกครองใหม่เป็นการปกครองแบบไทย ๆที่ถือว่าประชาชนทุกคนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน  โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัว คือ พระมหากษัตริย์ได้ปกครองประชาชนในฐานะบิดาปกครองบุตร หรือที่เรียกว่าการปกครองแบบปิตุราชาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้คือ
1.      รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตย คือพระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย
2.      พระมหากษัตริย์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนเปรียบเสมือนบิดากับบุคร  ทำตัวเปรียบเสมือนหัวหน้าครอบครัว  พระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัยตอนต้นจึงมีพระนามนำหน้าว่า พ่อขุน
3.      ลักษณะการปกครองระบบครอบครัวลดหลั่นกันเป็นชั้น ๆ นอกจากพระมหากษัตริย์ทำตัวเปรียบเสมือนบิดาของราษฎรแล้ว   ยังมีการจัดระบบการปกครอง  ดังนี้
-              ให้ครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมตัวกันเป็น  บ้าน  อยู่ในความดูแลของ พ่อบ้าน ผู้อยู่ภายใต้การปกครองเรียกว่า   ลูกบ้าน
-              หลายบ้านรวมกัน   เป็น    เมือง  ผู้ปกครองเรียกว่า    ขุน
-              เมืองหลายเมืองรวมกันเป็น    อาณาจักร    อยู่ในการปกครองของ    พ่อขุน 
แสดงให้เห็นว่านอกจากพ่อขุนผู้เป็นประมุขสูงสุดแล้ว ยังมีผู้ปกครองที่ได้รับมอบหมายจากพ่อขุน ทำหน้าที่เป็นกลไกในการปกครองด้วย
4.      พระมหากษัตริย์ทรงยึดหลักธรรมทางศาสนาในการบริหารบ้านเมือง และทรงชักชวนให้ประชาชนปฏิบัติธรรม เพื่อที่จะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข นอกจากนี้ในสมัยสุโขทัยตอนต้นยังมีการปกครองแบบทหารแอบแฝงอยู่ด้วยเนื่องจากในระยะแรกตั้งสุโขทัยมี
อาณาเขตแคบ ๆ ประชาชนยังมีน้อยดังนั้นทุดคนจึงต้องมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศเท่าๆกันจึงกำหนดว่าเวลาบ้านเมืองปกติประชาชนต่างทำมาหากินแต่เวลาเกิดศึกสงคราม ชายฉกรรจ์ทุกคนต้องเป็นทหาร  โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นจอมทัพ
การเมืองการปกครองสมัยอยุธยา
รูปแบบการปกครองสมัยอยุธยานั้นแบ่งได้ 3 ระยะตามลักษณะการปกครอง คือ การปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น  อยุธยาตอนกลาง  อยุธยาตอนปลาย
การปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น  
การปกครองระยะนี้เริ่มเมื่อ (พ.ศ.1893-1991 )สมัยพระเจ้าอู่ทองถึงสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2  แบ่งการปกครองได้ 2 ส่วน
     1)   การปกครองส่วนกลาง  การ ปกครองในเขตราชธานี   และบริเวณโดยรอบราชธานีโดยได้จัดรูปแบบการปกครองแบบเขมร จัดหน่วยการปกครองเป็น 4 หน่วย แต่ละหน่วยมีเสนาบดีบริหารงาน ได้แก่  กรมเวียง (ดูแลในเขตเมืองหลวง)  กรมวัง(ดูแลพระราชสำนักและพิจารณาคดี)  กรมคลัง(ดูแลพระราชทรัพย์) กรมนา  (จัดเก็บภาษีและจัดหาเสบียงสำหรับกองทัพ)
     2)   การปกครองส่วนหัวเมือง   แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ                                                        
        1. เมืองลูกหลวง   หรือเมืองหน้าด่าน       ตั้งอยู่รอบราชธานี 4  ทิศ เช่น ลพบุรี  นครนายก พระประแดง  สุพรรณบุรี ให้โอรสหรือพระราชวงศ์ชั้นสูงไปปกครอง
        2. หัวเมืองชั้นใน  อยู่ถัดจากเมืองลูกหลวงออกไป ได้แก่ พรหมบุรี  สิงห์บุรี ปราจีนบุรี  ฉะเชิงเทรา ชลบุรี  ตะนาวศรี  ไชยา นครศรีธรรมราช ให้ขุนนางที่กษัตริย์แต่งตั้งไปปกครอง
         3.หัวเมืองชั้นนอก   หรือหัวเมืองพระยามหานครคือหัวเมืองขนาดใหญ่ห่างจากราชธานีผู้ปกครองสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองเดิมหรือตัวแทนที่ราชธานีส่งมาปกครอง
         4. เมืองประเทศราช   เป็น เมืองที่ยังได้ปกครองตนเองเพราะอยู่ไกลที่สุด   มีความเป็นอิสระเหมือนเดิมแต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการตามกำหนดส่งกองทัพ มาช่วยเวลาสงคราม เช่นสุโขทัย เขมร เป็นต้น 
การปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง  ( 1991-2231)
                 ช่วงเวลาทางการ เมืองสมัยอยุธยาตอนกลางได้มีการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เหมาะสมกับ สภาพการณ์ ทางการเมือง โดยมีสถาบันกษัตริย์เป็นหลักในการปกครองแบ่งได้ 2 ช่วง
        ช่วงที่ 1  เป็นช่วงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ   ทรงปรับปรุงการปกครองใหม่เนื่องจากปัจจัยหลายๆอย่างเช่น เศรษฐกิจ ควบคุมหัวเมืองได้ไม่ทั่วถึง    และเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่านมีอำนาจมากขึ้น และมักแย่งชิงบัลลังก์อยู่เนืองๆ ประกอบกับอาณาเขตที่กว้างขวางกว่าเดิมพระองค์ได้จัดการแยก ทหารและ   พลเรือนออกจากกัน และจัดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำให้ราชธานีมีอำนาจมากขึ้น มีการควบคุมเข้มงวดมากขึ้น  มีการปฏิรูปการปกครองแยกเป็น 2 ส่วน คือส่วนกลางและหัวเมือง
        สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแยกการปกครองส่วนกลางเป็น  2  ฝ่าย คือ ทหารและพลเรือน    ทหาร มีสมุหกลาโหมดูแล  ส่วนพลเรือนมี สมุหนายก  ดูแลสมุหนายก มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง สมุหนายก ดูแล ข้าราชการฝ่ายพลเรือนทั้งในราชสมุหกลาโหม มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง สมุหพระกลาโหมเป็นผู้ดูแลฝ่ายทหาร ทั้งในราชานีและหัวเมือง    และยังได้ปรับปรุงจตุสดมภ์ภายใต้การดูแลของ  สมุหนายก  อัครมหาเสนาบดีผู้ดูแลปรับเปลี่ยนชื่อเป็น ออกญาโกษาธิบดี
การปฏิรูปส่วนหัวเมือง  แยกเป็น 3 ส่วน
        หัวเมืองชั้นใน   ยกเลิกหัวเมืองลูกหลวง จัดตั้งเป็นเมืองชั้นใน  ทรงขุนนางไปครองเรียก  ผู้รั้ง
        หัวเมืองชั้นนอก คือหัวเมืองประเทศราชเดิม ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาเรียกว่า  เมืองพระยามหานคร  จัดการปกครองใกล้ชิด เช่น พิษณุโลก นครศรีธรรมราช เป็นเมืองชั้นเอก โท และตรี
        เมืองประเทศราช  คือ เมืองชาวต่างชาติที่ยอมอยู่ใต้อำนาจ เช่น ตะนาวศรี ทะวาย เขมร ให้เจ้านายพื้นเมืองเดิมปกครอง ส่งบรรณาการและกองทัพมาช่วยเวลาเกิดสงคราม
     ช่วงที่ 2  ตรงกับสมัยพระเพทราชา  ถ่วงดุลอำนาจทางทหารโดยให้สมุหกลาโหม  และสมุหนายก ดูแลทั้งทหารและพลเรือน  โดยแบ่ง หัวเมืองใต้ ให้สมุหกลาโหมดูแลหัวเมืองทางใต้และพลเรือน  ส่วนพลเรือนและทหารฝ่ายเหนือให้  สมุหกลาโหมดูแล
การปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย ( ในช่วง 2231-2310)
            พอถึงสมัยสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวบรมโกศ ครองราชย์ ทรงปรับเปลี่ยนอำนาจทางทหาร เพื่อถ่วงดุลมากขึ้นโดย ให้พระโกษาธิบดีหรือพระคลัง ดูแลทหารและพลเรือนทางใต้ แทนสมุหกลา-โหม     ส่วนสมุหนายก  ยังคงเหมือนเดิม  การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปกครองสมัยอยุธยาตั้งแต่ตอนต้นจนถึงตอนปลายนั้น กระทำเพื่อการรวมอำนาจสู่ศูนย์กลางให้มากที่สุด เพื่อถ่วงอำนาจ ระหว่างเจ้านาย และ ขุนนาง ไม่ให้เป็นภัยต่อพระมหากษัตริย์นั้นเอง
             เข้า ใจชัดแล้วใช่ไหมว่า ทำไมอยุธยาต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปกครองค่อนข้างบ่อยเหตุผลก็เพื่อความ มั่นคงของสถาบันกษัตริย์ที่เป็นหลักในการปกครองนั่นเอง
            สรุป การ ปกครองสมัยอยุธยามีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางการเมืองโดยมีจุด มุ่งหมายที่สำคัญคือพยายามรวมอำนาจการปกครองสู่ส่วนกลาง และควบคุมการปกครองหัวเมืองต่างๆให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น พร้อมกับพยายามจัดรูปแบบการปกครอง เพื่อถ่วงดุลอำนาจกับกลุ่มเจ้านายและขุนนาง ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการปกครอง ดังนั้น สมัยอาณาจักรอยุธยาจึงเกิดการแย่งชิงอำนายทางการเมืองระหว่างพระมหากษัตริย์  เจ้านาย และขุนนาง  ตลอดจนสิ้นอยุธยา
การเมืองการปกครองสมัยธนบุรี
      สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระราช ภารกิจที่ต้องทรงกระทำอย่างเร่งด่วน คือ การสร้างความมั่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความปลอดภัย การกินดีอยู่ดีและการฟื้นฟูบ้านเมืองให้อยู่ในภาวะปกติโดยเร็ว อย่างไรก็ดีรัชกาลของพระองค์มีระยะเวลาสั้นเพียง 15 ปี พระองค์ไม่มีโอกาสที่ปรับปรุงกิจการบ้านเมืองได้มากนักคงดำเนินการแก้ไข เหตุการณ์เฉพาะหน้าที่สำคัญ ๆ เท่านั้น คือ ทรงรวบรวมบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่น เนื่องจากเกิดสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ราษฏรได้อพยพหนีสงครามกระจัดกระจายไปอยู่ตามป่า และหัวเมืองต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก บรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ก็แยกตัวเป็นอิสระ หัวเมืองใดมีกำลังมากก็ตั้งตนเป็นใหญ่ ซึ่งมีด้วยกัน 5 ชุมนุม ดังนี้
     1. ชุมนุมเจ้าพระฝาง มีเจ้าพระฝางเป็นหัวหน้า อยู่ที่เมืองฝาง ทางภาคเหนือ           
     2. ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก มีเจ้าพระยาพิษณุโลกเป็นหัวหน้า อยู่ที่เมืองพิษณุโลก ทางภาคเหนือ
     3. ชุมนุมพระยานครศรีธรรมราช มีเจ้าพระยานครศรีธรรมราชเป็นหัวหน้าอยู่ทีเมืองนครศรีธรรมราช ทางภาคใต้
     4. ชุมนุมกรมหมื่นเทพพิพิธ มีกรมหมื่นพิพิธเป็นหัวหน้า อยู่ที่เมืองนครราชสีมา ทางภาคอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
     5. ชุมนุมพระยาตาก มีพระยาตากเป็นหัวหน้า อยู่ที่เมืองจันทบุรี ทางหัวเมืองชายฝั่งตะวันออก
         สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงรวบรวมคนที่แตกฉานซ่านเซ็นได้เข้ามารวมกันที่กรุงธนบุรีและตามถิ่นที่อยู่เดิม เพื่อเป็นกำลังของบ้านเมือง พระองค์ได้ทรงยกกองทัพไปปราบชุมนุมต่าง ๆ ชุมนุมแรกที่ทรงไปปราบ คือชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลกเป็นชุมนุมที่เข้มแข็งที่สุด แต่ปราบไม่สำเร็จ เพระสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชถูกกระสุนปืนของข้าศึกบาดเจ็บ หลังจากนั้นทรงยกกองทัพไปชุมนุมกรมหมื่นเทพพิพิธ และชุมนุมเจ้าพระยานครศรีธรรมราชได้สำเร็จตามลำดับ ชุมนุมสุดท้าย คือชุมนุมเจ้าพระยาฝาง เป็นชุมนุมที่รวมเอาชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลกไว้ด้วยเนื่องจากเจ้าพระยาพิษณุโลกถึงแก่กรรม จึงชุมนุมที่มีกำลังมาก ทรงยกกองทัพไปปราบ ใน พ.ศ. 2313 และปราบสำเร็จ
การป้องกันและขยายอาณาเขต ภายหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกู้เอกราชได้แล้ว พม่าได้ส่งกองทัพเข้ามาปราบปรามธนบุรี ทั้งนี้เพราะไม่ต้องการให้กรุงธนบุรีเข้มแข็งและมีอำนาจ แต่กองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็สามารถป้องกันได้ สงครามครั้งสำคัญระหว่างกรุงธนบุรีกับพม่า ได้แก่ศึกพม่าที่บางกุ้ง สมุทรสงคราม ศึกอะแซหวุ่นกี้
ในด้านการขยายอาณาเขตนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระราชประสงค์ที่จะฟื้นฟูอำนาจของไทยในเขมร ทั้งนี้เพราะเขมรเคยเป็นเมืองประเทศราชของไทยมาตั้งแต่อยุธยา แต่เมื่ออยุธยาเสียแก่พม่าครั้งที่ 2 เขมรก็เป็นอิสระ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงยกทัพไปตีเขมร ทรงตีเขมรได้ และโปรดเกล้าฯ ให้นักองค์เป็นกษัตริย์ปกครองเขมร ต่อมาเขมรเกิดจลาจล สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสิงห์ไปปราบเขมร แต่กองทัพยังไปไม่ถึงเขมร พอดีทราบข่าวว่าเกิดการจลาจลที่กรุงธนบุรีทัพไทยจึงต้องยกกองทัพกลับ
     ลักษณะการปกครองส่วนใหญ่ในสมัยกรุงธนบุรี ยังคงมีรูปแบบเหมือนสมัยอยุทธยาตอนปลายซึ่งยึดหลักการปกครองตามแบบที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงวางไว้คือ พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจสูงสุดในการปกครอง โดยแบ่งการปกครองออกเป็น ๒ ส่วน คือ การปกครองส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค
     1. การปกครองส่วนกลาง
     พระมหากษัตริย์พระราชอำนาจสูงสุด มีอัครมหาเสนาบดี 2 ฝ่าย และเสนาบดี 4 กรม รับผิดชอบดูแลช่วยเหลือข้าราชการแผ่นดิน ได้แก่
           1.1 สมุหกลาโหม มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลหัวเมืองผ่ายใต้และกิจการทหาร

           1.2 สมุหนายก รับผิดชอบดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ และกิจการพลเรือน โดยมีจตุสดมภ์ซึ่งประกอบด้วยเสนาบดี 4 กรม เป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ดังนี้
เสนาบดีกรมเวียง(นครบาล)        มีหน้าที่ปกครองท้องที่ และ รักษาความสงบเรียบร้อย
เสนาบดีกรมวัง (ธรรมาธิกรณ์)    มีหน้าที่เกี่ยวกับราชสำนักและพิจารณาพิพากษาคดีของราษฎร
เสนาบดีกรมคลัง (โกษาธิบดี)      มีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรและการค้าขายกับต่างประเทศ
เสนาบดีกรมนา (เกษตราธิการ)    มีหน้าที่ดูแลที่นาหลวง เก็บภาษีการทำนา เก็บข้าวขึ้นฉางหลวง และพิจารณาคดีเกี่ยวกับเรื่องโค กระบือ และที่นา

     2. การปกครองส่วนภูมิภาค  
          1. หัวเมืองชั้นใน(เมืองจัตวา) ได้แก่ เมืองที่อยู่ใกล้ราชธานี มีผู้ปกครอง เรียกว่า ผู้รั้งเมือง เป็นผู้ช่วยพระมหากษัตริย์ในการปกครอง ได้แก่ เมืองพระประแดง เมืองนนทบุรี เมืองสามโคก

          2. หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ หัวเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานีออกไป เรียกว่า เมืองพระยามหานคร มีผู้ปกครองเรียกว่า เจ้าเมือง โดยพระมหากษัตริย์ทรงแต่ตั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีความดีความชอบในราชการศึกสงครามออกไปปกครอง โดยจะแบ่งตามขนาดและความสำคัญของเมืองออกเป็น เมืองชั้นนอก โท ตรี จัตวา โดยรูปแบบเป็นเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา เพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงฐานะของเมืองออกไปจากเดิม

          3. เมืองประเทศราช ได้แก่ เมืองที่มีประชาชนไม่ใช่คนไทย แต่อยู่ในอำนาจของไทย พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งเจ้าเมืองที่เป็นชนพื้นเมืองให้ปกครองกันเอง โดยให้เป็นอิสระในการปกครอง แต่ต้องปฏิบัติตามนโยบายของเมืองหลวงและต้องส่งต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง และเครื่องราชบรรณาการแก่เมืองหลวง ได้แก่ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ เขมร และหัวเมืองมลายู
     สมัยธนบุรีมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจมาก และเป็นปัญหาที่มีความสำคัญเท่ากับปัญหาความมั่นคงของราชอาณาจักร เพราะมีการทำศึกสงครามกับพม่ายาวนาน รวมทั้งการปราบปรามชุมชนต่าง ๆ ทำให้ไม่สามารถสะสมเสบียงอาหารได้และยังขาดแรงงานในการเพาะปลูก รวมทั้งมีฝนแล้งติดต่อกันอีกด้วย
ในช่วงต้นสมัยธนบุรี ราษฎรอดอยากเดือดร้อน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการซื้อข้าวปลาอาหาร จากพ่อค้าต่างชาติไปแจกจ่ายราษฎร โดยให้ราคาสินค้าสูงมาก เพื่อจูงใจพ่อค้านำสินค้ามาขายและทรงสั่งให้บรรดาขุนนางข้าราชการทำนาปีละ 2 ครั้ง เพื่อเพิ่มผลผลิต ต่อมาภาวะเศรษฐกิจจึงค่อยกระเตื้องขึ้น นอกจากนี้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงส่งเสริมการค้ากับต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการค้ากับจีน
ลักษณะสังคมในสมัยธนบุรีมีลักษณะเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา คือเป็นสังคมศักดินา ประกอบด้วยบุคคล 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นผู้ปกครอง ได้แก่พระมหากษัตริย์ เจ้านาย ขุนนาง และชนชั้นถูกปกครอง ได้แก่ ไพร่ และทาส
      ราษฏรสมัยธนบุรีให้ความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ในภาวะที่บ้านเมืองเพิ่งพ้นศึกสงคราม ทุกคนยังกลัวภัยสงคราม พ่อ แม่ พี่น้อง ต้องพลัดพรากจากกัน บ้านเรือนถูกทำลาย ดังนั้นชาวไทยส่วนใหญ่จึงยึดเอาพระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งเพื่อบรรเทาความ ทุกข์ พระสงฆ์เป็นที่พึ่งของประชาชน นอกจากนี้ราษฏรยังได้อาศัยวัดเป็นที่พึ่งในระหว่างสงครามกับพม่ามีราษฏร จำนวนมากที่หนีภัยสงครามไปบวชเป็นพระ และบ้างก็ไปซ่อนตัวอยู่ในป่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงประกาศให้ราษฎรออกจากป่ามาช่วยกันทำนุบำรุง บ้านเมือง
        สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสนพระทัยในพุทธศานาอย่างมาก ได้ทรงรวบรวมพระไตรปิฏกในสมัยอยุธยา และให้คัดลอกพระไตรปิฏกจากนครศรีธรรมราชมาเก็บไว้ที่ธนบุรี ทรงสร้างและบูรณะซ่อมแซมวัดวาอารามต่าง ๆ ทรงทำบุญและทำทานทุกวันพระ
       สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงประกอบพระราชกรณียกิจอันทรงคุณประโยชน์อย่างยิ่งแก่ชาวไทย ทรงทุ่มเทพระวรกาย และพระสติปัญญาอย่างเต็มที่ในการกู้เอกราชจากพม่าในช่วงระยะเวลาอันสั้น ทรงรวบรวมและพัฒนาบ้านเมืองให้เข้าสู่ภาวะปกติ สร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่บ้านเมือง ในตอนปลายรัชกาลพระองค์ทรงมีพระสติฟั่นเฟือนจนทำให้เกิดปัญหาการปกครองบ้านเมืองอันนำไปสู่การสิ้นสุดสมัยธนบุรี




ในสมัยธนบุรีความสัมพันธ์ต่างประเทศในลักษณะของการป้องกันประเทศจากการรุกรานของต่างชาติ และการขยายอำนาจไปในอาณาจักรข้างเคียง เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงแก่บ้านเมือง สมัยนี้ไทยมีความสัมพันธ์กับพม่า ลาว เขมร และจีน
พม่า
     ตลอดสมัยธนบุรี พม่าได้ยกกองทัพมาตีไทยหลายครั้ง มีทั้งสงคราขนาดใหญ่และขนาดเล็ก เช่นการรบที่บางกุ้งในเมืองสมุทรสาคร การบที่สวรรคโลก การรบที่เมืองพิชัย (อยู่ในอุตรดิตถ์) ซึ่งทำให้เกิดวีรกรรมของพระยาพิชัย เจ้าเมืองพิชัยได้นำทหารสู้รบกับพม่าอย่างกล้าหาญ โดยถือดาบสองมือสู้รบกับพม่า จนดาบหักไปเล่มหนึ่ง ในที่สุดพม่าก็ถอยกลับไป พระยาพิชัยจึงได้สมญานามว่า พระยาพิชัยดาบหัก สงครามครั้งสำคัญอีกครั้งในสมัยธนบุรี คือครั้งที่พม่าตีหัวเมืองเหนือใน พ.ศ. 2318 เรียกว่า ศึกอะแซหวุ่นกี้ เพราะพระเจ้ามังระแห่งพม่าให้อะแซหวุ่นกกี้แม่ทัพผู้มีความสามารถยกทัพมาตีหัวเมืองเหนือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดให้เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) ยกทัพไปช่วยเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) เจ้าเมืองพิษณุโลก)ผู้เป็นน้องชาย ปรากฏว่าการรบครั้งนั้นพม่ายกทัพยกลับไปใน พ.ศ. 2319 นับเป็นสงครามครั้งสุดท้ายในสมัยธนบุรี
ลาว
     สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงขยายอำนาจเข้าไปในลาว ซึ่งมี 3 อาณาจักรคือ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาศักดิ์ และทรงอัญเชิญพระเจ้ามรกตจากเวียงจันทน์กลับคืนมายังประเทสไทย ในครั้งนั้นได้อัญเชิญพระบางมาด้วย แต่ต่อมาในรัชกาลที่ 1 แห่งรัตนโกสินทร์ได้พระราชทานพระบางคืนให้ลาวไป
ล้านนา
     ล้านนานเป็นอาณาจักรใหญ่และรุ่งเรือง (ปัจจุบันคือ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา เชียงราย แม่ฮ่องสอน แพร่ และน่าน) บางครั้งตกเป็นประเทศราชของไทย และบางครั้งตกเป็นของพม่า เพราะมีตั้งกรุงธนบุรีนั้น ล้านนายังคงตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดทัพไปตีเชียงใหม่ได้ใน พ.ศ. 2317 แต่ต่อมาพม่าพยายามตีเมืองเชียงใหม่กลับคืน จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปล่อยเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองร้าง จนถึงรัชกาลที่ 1 จึงตั้งเมืองขึ้นใหม่
จีน
     สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพยายามติดต่อกับจีน เพื่อให้จีนรับรองฐานะของพระองค์ ซึ่งจะทำให้ไทยสามารถค้าขายกับจีนได้ จนกระทั่งจีนยอมรับรองฐานะของพระองค์ การที่กรุงธนบุรีได้ติดต่อค้าขายกับจีน ทำให้เศรษฐกิจของไทยฟื้นฟูขึ้น สินค้าจากจีนเป็นที่ต้องการมาก และไทยนำไปขานต่อให้กับต่างประเทศซึ้งต้องการซื้อสินค้าจีน
          ตลอดรัชสมัยสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช ทรงมีพระราชภารกิจหนักมากทั้งเรื่องการรวมชาติ การฟื้นฟูเศรษฐกิจ การป้องกันประเทศ การสร้างความมั่นคงและด้านอื่น ๆ ทำให้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระประชวรจนเกิดการกบฏและความวุ่นวายทั่ว ไปในกรุงธนบุรี จนกระทั่งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) ได้ยกทัพกลับจากราชการที่เขมร แล้วเข้ามาแก้ไขปัญหาในกรุงธนบุรีจนสงบเรียบร้อย ขุนนางและราษฏรจึงได้เชิญสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกให้ขึ้นครองราชย์ สมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรงแห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระนาว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และทรงย้ายราชธานีจากรุงธนบุรีมาอยู่ที่กรุงรัตนโกสินทร์ ใน พ.ศ. 2325


การเมืองการปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

  สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นสมัยการสร้างชาติบ้านเมือง ให้รุ่งเรืองเหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา ดังคำกล่าวที่ว่า "ทำให้เหมือนเมื่อครั้งบ้านเมืองยังดี" ดังนั้นช่วงรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓ เป็นสมัยที่ กรุงรัตนโกสินทร์เจริญรอยตามแบบกรุงศรีอยุธยา ทั้งทางด้านรูปแบบและการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

โครงสร้างสังคมสมัยต้นรัตนโกสินทร์
โครงสร้างสังคมสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีรูปแบบเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยแบ่งเป็นสังคมครอบครัวและสังคมทั่วไป สังคมครอบครัวไม่แตกต่างจากสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนสังคมทั่วไปมีรายละเอียดปลีกย่อยออกไปและยังคงแบ่งคนในสังคมทั่วไปเป็น ๒ ชนชั้น คือชนชั้นผู้ปกครองประกอบด้วย พระมหากษัตริย์ เจ้านาย ขุนนาง ข้าราชการ นักบวช กับชนชั้นผู้อยู่ใต้ปกครอง คือไพร่และทาส

ชนชั้นผู้ปกครอง
ผู้ปกครองมีฐานะเป็นมูลนาย มูลนายมี ๒ อย่างคือ มูลนายโดยกำเนิด ได้แก่เจ้านายเชื้อพระวงศ์ และมูลนายโดยการดำรงตำแหน่ง เช่นขุนนางข้าราชการที่ได้รับมอบหมายให้ควบคุมไพร่ตามอำนาจความรับผิดชอบของตำแหน่งที่ดำรงอยู่ และแตกต่างจากมูลนายโดยกำเนิดที่ศักดินา สิทธิและอำนาจ ที่ล้วนขึ้นอยู่กับตำแหน่ง มูลนายโดยตำแหน่งที่มีความสำคัญและมีอำนาจมากที่สุดคือ พระมหากษัตริย์ รวมถึงกรมพระราชวังบวรสถานมงคลและเจ้านายที่ทรงกรม
มูลนายยังแบ่งเป็น ๒ ชั้นคือ มูลนายระดับสูง และ มูลนายระดับล่าง ซึ่งปรากฏในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนและพระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง มูลนายระดับสูงหมายถึงผู้ถือศักดินาตั้งแต่ ๔๐๐ ขึ้นไป ซึ่งมีทั้งเจ้านาย ขุนนาง พระภิกษุ พราหมณ์ ผู้รู้ศิลปศาสตร์ รวมทั้งพระมหากษัตริย์ด้วย พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งมูลนายระดับสูงทำให้คนเหล่านั้นมีสิทธิพิเศษบางประการ เช่น มีสิทธิเข้าเฝ้า ขณะเสด็จออกว่าราชการและลูกมูลนายระดับสูงได้รับการยกเว้นไม่ต้องสักเป็นไพร่
มูลนายระดับล่าง หมายถึงผู้ถือศักดินาระหว่าง ๓๐-๔๐๐ มูลนายระดับสูงเป็นผู้แต่งตั้งให้มาช่วยราชการ ทำหน้าที่ควบคุมไพร่โดยอยู่ใต้บังคับบัญชาของมูลนายระดับสูงอีกทีหนึ่ง ได้รับสิทธิพิเศษไม่ถูกสักเป็นไพร่ เป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่ครอบคลุมถึงครอบครัว คนเหล่านี้เป็นฐานอำนาจของมูลนายระดับสูง

ชนชั้นผู้อยู่ใต้ปกครอง
ชนชั้นผู้อยู่ใต้ปกครองประกอบด้วยไพร่และทาส ไพร่คือราษฎรสามัญทั่วไปซึ่งมีจำนวนมากและเป็นคนส่วนใหญ่ของราชอาณาจักร ต้องสังกัดมูลนายเพื่อแลกเปลี่ยนกับความคุ้มครอง ถือศักดินาระหว่าง ๑๐-๒๕ ความเป็นไพร่มีมาแต่กำเนิดและได้รับการแบ่งปันขึ้นสังกัดกรมกองต่าง ๆ เมื่อลูกหมู่ชายหญิงอายุ ๙ ปีขึ้นไป ไพร่ยังมาจากผู้ที่สึกจากสมณเพศ ทาสที่เป็นไทและมูลนายที่ทำผิดแล้วถูกถอดเป็นไพร่ ส่วนทาสมีศักดินา ๕ ทาสมีทั้งทาส ที่เป็นมาแต่กำเนิด เชลยศึก ผู้ที่ขายตัวหรือถูกขายตัวเป็นทาส ทั้งไพร่และทาสมีหน้าที่เหมือนกันตรงที่ต้องถูกเกณฑ์ไปรบเมื่อมีราชการสงคราม

ไพร่ มีระเบียบว่า เริ่มจากแบ่งลูกหมู่อายุ ๙ ปีขึ้นไปเข้าสังกัดมูลนายเป็นไพร่หลวง ไพร่สม หรือไพร่ส่วย ตามสังกัดของบิดามารดา มูลนายต้องทำบัญชีไว้จนกว่าจะปลดชรา การปลดชราไพร่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ แต่เดิมก่อน พ.ศ. ๒๔๔๒ ไม่มีกำหนดอายุสิ้นสุดของไพร่เป็นลายลักษณ์อักษร การปลดชราพิจารณาจากสังขารของไพร่ และค่อย ๆ มีแนวโน้มว่าอายุควรเป็นเครื่องกำหนดได้และตระหนักว่าคนอายุ ๗๐ ปี ใช้ราชการไม่ค่อยได้แล้ว แต่ยังคงใช้ทำงานเบา ๆ ต่อไป อายุจึงไมใช่เครื่องกำหนดในการปลดชราและตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๒ ไพร่ปลดชราเมื่ออายุ ๖๐ ปี ไพร่สมัยรัตนโกสินทร์มี ๓ ประเภทดังนี้
๑. ไพร่หลวง หมายถึงไพร่ของหลวง ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ พวกนี้กระจายอยู่ตามกรมกองต่าง ๆ มีเจ้ากรมและข้าราชการกรมต่าง ๆ ดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ สมัยรัชกาลที่ ๑ ไพร่หลวงเข้ารับราชการปีละ ๔ เดือนคือเข้าเดือน ออก ๒ เดือน สมัยรัชกาลที่ ๒ รับราชการ ๓ เดือนต่อปีหรือเข้าเดือนออก ๓ เดือนใช้มาจนสมัยรัชกาลที่ ๔ ต่อมาสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นระยะของการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ต้นรัชกาลไพร่หลวงจึงเข้ามารับราชการปีละหนึ่งเดือน พ.ศ. ๒๔๒๕ จึงได้เริ่มมีการปลดปล่อยไพร่และทาส
๒. ไพร่สม เป็นกำลังคนส่วนใหญ่ของมูลนาย มักเรียกรวม ๆ กันว่า ข้าหรือข้าเจ้า บ่าวขุนนาง สมัยต้นรัตนโกสินทร์ไพร่สมต้องรับใช้มูลนายของตนและต้องรับใช้ข้าราชการ โดยการมาให้แรงงานปีละ ๑ เดือน หากไม่ไป จะต้องเสียเงินให้ราชการหนึ่งตำลึงสองบาท (๖ บาท)
ไพร่สมเป็นเสมือนสมบัติของมูลนาย ที่จะใช้งานส่วนตัวได้โดยไม่ระบุเวลาใช้งานที่แน่นอน เเต่ไม่ใช่สมบัติที่ตกทอดเป็นมรดกเมื่อมูลนายถึงแก่กรรม ไพร่สมจะถูกโอนเป็นไพร่หลวง แต่ความเป็นจริงมักปรากฏว่าทายาทของมูลนายเดิมหรือมูลนายอื่นจะถือโอกาสขอตัวไพร่สมนั้นไว้ พระมหากษัตริย์มักจะพระราชทานให้ตามที่ขอ สมัยรัชกาลที่ ๑ กฎหมายยังให้สิทธิแก่ไพร่สมฟ้องร้องมูลนายของตนได้ ถ้าไม่ได้รับความเป็นธรรม ถ้าชนะความจะพ้นจากความเป็นไพร่สมไปเป็นไพร่หลวง นอกจากนั้นถ้านายทำผิดแล้วต้องโทษ ไพร่สมของมูลนายคนนี้จะถูกโอนเป็นไพร่หลวงแยกไปสังกัดกรมกองต่าง ๆ มีมูลนายใหม่ควบคุม
๓. ไพร่ส่วย หมายถึงไพร่ที่ไม่ต้องทำงานให้รัฐ แต่ส่งส่วยให้เป็นการตอบแทนการส่งส่วยมีทั้งส่งเป็นรายปีและส่วยเกณฑ์กรณีพิเศษ เช่น เรียกเกณฑ์ให้ตัดไม้มาใช้ในการสร้างพระเมรุ ขุดหาแร่ทองแดงมาหล่อพระพุทธรูป ฯลฯ บางครั้งอาจเรียกเกณฑ์แรงงานไพร่ส่วยได้เป็นกรณีพิเศษ โดยทางการจัดหาเสบียงอาหารให้ด้วย
ไพรส่วยนี้ที่จริงแล้วคือไพร่หลวงที่ไม่สะดวกในการเข้ารับราชการหรือทางการไม่ต้องการแรงงานเพราะไม่สามารถหางานให้คนทั่วราชอาณาจักรทำได้ อีก ทั้งต้องการส่วยสิ่งของเพื่อไปค้าสำเภาด้วย จึงกำหนดให้ส่งส่วยแทน

ข้าพระโยมสงฆ์ จัดเป็นไพร่ส่วยด้วย อยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้ากรม ปลัดกรมและสมุห์บัญชีเช่นเดียวกับไพร่กองอื่น ๆ ต่างกันที่เป็นของฝ่ายพุทธจักร เพราะทางการได้หักกำลังคนส่วนนี้ออกจากกรมกองเดิม พ้นจากหน้าที่ที่ทำอยู่เดิมแล้วมอบให้วัดเพื่อให้แรงงานโดยตรง พวกนี้มีหน้าที่ทำงานให้วัดและช่วยวัดอื่นๆ ด้วย สมัยรัชกาลที่ ๔ ข้าพระโยมสงฆ์ส่วนหนึ่งต้องทำส่วยส่งรัฐเป็นรายปีด้วย
ทาส 
คือพลเมืองอีกกลุ่มหนึ่งในสังคมไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์ แต่เป็นพลเมืองที่มีสถานะเหมือนทรัพย์สินส่วนตัวของนายเงิน การโอนหรือขายต่อเป็นสิทธิของนายเงิน ทาสจึงต่างจากไพร่ตรงจุดนี้ กฎหมายยังรับรองสิทธิของนายเงินที่มีเหนือทาส ขณะเดียวกันก็มีกฎหมายให้ความคุ้มครองทาสด้วย ทาสสมัยรัตนโกสินทร์มีสภาพเช่นเดียวกับทาสสมัยกรุงศรีอยุธยาดังได้กล่าวมาแล้ว
การควบคุมระบบไพร่
เมืองต่าง ๆ ทั้งหัวเมืองชั้นในและหัวเมืองชั้นนอก จะแบ่งคนเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มมูลนายซึ่งเป็นชนชั้นผู้ปกครอง และกลุ่มผู้อยู่ใต้ปกครอง ซึ่งมีไพร่ เป็นราษฎรส่วนใหญ่ของเมืองนั้นๆ บุคคลทั้ง ๒ กลุ่มจะมีภาระหน้าที่แตกต่างกันไป
ชนชั้น ผู้ปกครอง
ประกอบด้วยเจ้าเมือง กรมการเมือง ปลัดเมือง จางวางกอง นายกอง ปลัดกอง เจ้าหมู่นายหมวด นายบ้าน กำนัน พัน และนายอำเภอ
เจ้าเมือง กรมการเมือง
ได้รับแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ ให้ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในเมืองของตน การแต่งตั้งเจ้าเมืองจะมีขึ้นเมื่อตำแหน่งเจ้าเมืองว่างลงโดยโปรดเกล้าฯ ให้เลือกบุตรหลานหรือเชื้อสายเจ้าเมืองคนเดิมที่มีสติปัญญาความสามารถให้ดำรงตำแหน่งสืบแทน แต่มีบางกรณีที่โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขุนนางจากกรุงเทพฯ ไปเป็นเจ้าเมืองหรือแต่งตั้งขุนนางอื่นเป็นเจ้าเมืองก็ได้
ขอบข่ายอำนาจหน้าที่ของเจ้าเมืองมีมากและกว้างขวาง ปรากฏอยู่ในพระราชกำหนดเก่าของกฎหมายตราสามดวง โดยเฉพาะมาตรการที่ ๒๓ สรุปได้ว่า มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อย บำบัดทุกข์บำรุงสุขป้องกันโจรผู้ร้าย พิจารณาคดีภายในเมือง ควบคุมด่านทางแดนต่อแดนกับเมืองอื่นๆ ที่สำคัญคือรู้บัญชีจำนวนคน ไม่ว่าจะเป็น ไพร่หลวง ไพร่สม ข้าพระโยมสงฆ์ เพื่อจะได้สะดวกในการเกณฑ์เก็บส่วย การเรียกใช้งานและเกณฑ์กำลัง รวมทั้งตรวจจับผู้คนที่หลบหนีเข้ามาในเมืองหรือออกไปนอกเมือง การทำบัญชีคนโดยให้นายกองเป็นผู้ทำบัญไว้ และมีบัญชีของเจ้าเมืองกรมการอีกบัญชีหนึ่ง เมี่อมีการจำหน่ายคน เช่นตายหรือยกให้ผู้อื่นให้หักออกจากบัญชีทั้งสองฝ่าย และรวบรวมชื่อจำนวนนายกอง ปลัดกอง ขุนหมื่น เจ้าหมู่ต่าง ๆ ในเมืองของตน ส่งเป็นบัญชีหางว่าวไปให้สัสดีและเสนาบดีต้นสังกัดเป็นหลักฐาน เพื่อรับพระราชทานเบี้ยหวัดประจำปี
ปลัดเมือง
ในแต่ละเมืองจะมีปลัดเมือง มีหน้าที่ช่วยราชการเจ้าเมืองดูแลความเป็นอยู่ของราษฎรไทยและเชื้อชาติต่าง ๆ รวมทั้งเข้าร่วมในการตัดสินคดีความภายในเมืองด้วย
จางวางกอง
มีหน้าที่บังคับบัญชาดูแลกองไพร่ต่าง ๆ ในเมืองนั้น และมักเป็นนายกองมาก่อน รับราชการมานานมีความดีความชอบจึงได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น เช่น จางวางกองโคเมืองสระบุรี มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยารัตนากาษ ศักดินา ๘๐๐ ไร่
นายกอง ปลัดกอง
เป็นตำแหน่งมูลนายรองลงมาจากจางวางกอง มีหน้าที่ควบคุมดูแลไพร่กองต่าง ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายอาจเป็น ๒ กอง หรือ ๔ กองอย่างมาก ๘ กอง มีปลัดกองช่วยเหลือโดยอยู่ใต้บังคับบัญชาของเจ้าเมือง กรมการเมืองนั้น ๆ ถ้ามีคดีความวิวาทระหว่างไพร่ในกองด้วยเนื้อหา ?มโนสาเร่เบ็ดเสร็จ? ให้นายกองเป็นผู้ตัดสิน ถ้าเป็นคดีร้ายแรง ให้ส่งเจ้าเมือง กรมการเมือง ตัดสิน
เจ้าหมู่นายหมวด
เป็นผู้ใกล้ชิดไพร่มากที่สุดและเป็นคนในท้องถิ่น ทำหน้าที่เกณฑ์แรงงานไพร่ และรวบรวมส่วยส่งไปยังผู้บังคับบัญชา และเป็นผู้ทำหน้าที่ชำระไพร่และทำบัญชีเลกโดยตรงด้วย
นายบ้าน กำนัน พัน นายอำเภอ
นายบ้านหรือผู้ใหญ่บ้านเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่ปกครองดูแลคนในหมู่บ้านตามเมืองต่าง ๆ เจ้าเมืองกรมการเมืองเป็นผู้แต่งตั้งโดยคัดเลือกจากคุณสมบัติและคนในหมู่บ้านนับถือ เนื่องจากราษฎรสมัยต้นรัตนโกสินทร์ต้องสังกัดหมวดหมู่ในกองต่าง ๆ ครอบครัวก็ต้องขึ้นสังกัดตามหัวหน้าครอบครัวและช่วยทำนาทำสวนด้วยราษฎรมักอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน ซึ่งประกอบด้วยหลายหลังคาเรือนร่วมกัน มีผู้ใหญ่บ้าน กำนัน พัน ขุนหมื่น ปกครอง มีหน้าที่ช่วยเหลือนายกองดูแลไพร่และทำส่วย ทำบัญชีผู้คน ดังที่กฎหมายกำหนดว่า ประการหนึ่งให้ผู้ใหญ่บ้านทำสารบัญชีให้ร่นจำนวนคน ณ บ้านนั้นไว้ แล้วกำชับอย่าให้ราษฏรคบหากันเป็นผู้ร้าย และมีตำแหน่งนายอำเภอซึ่งสูงขึ้นมาอีกดูแลควบคุมอีกทีหนึ่ง
กลุ่มผู้อยู่ใต้ปกครอง
กลุ่มผู้อยู่ใต้ปกครองคือ ไพร่ ซึ่งแบ่งเป็นประเภทตามหน้าที่ได้แก่ เลกคงเมือง เลกสมเจ้าเมืองกรมการเมือง เลกเข้าเดือน เลกกองนอกและเลกกองด่าน
เลกคงเมือง
คือไพร่หลวงที่ประจำอยู่เมืองนั้น ๆ เป็นกำลังของเมืองนั้น จึงใช้คำว่า ?คง? หมายถึงคงอยู่ในเมืองนั้น ทางการพยายามเพิ่มพูนจำนวนคนในแต่ละเมืองให้มากขึ้นโดยการส่งเชลยศึกชาวต่างชาติที่กวาดต้อนมาได้ให้มาอยู่ประจำในเมืองนั้น ๆ เพื่อทำส่วยเพาะปลูก และป้องกันเมือง นอกจากนั้นยังได้จากเลกสมที่มูลนายถึงแก่กรรม ส่วนกลางมักโอนให้เป็นเลกคงเมือง และได้จากเลกที่มูลนายเบียดบังไว้ไม่สักเมื่อทางการพบจะนำมาสักเป็นเลกคงเมือง เป็นต้น หน้าที่ของเลกคงเมืองต้องเข้าเดือนปีละ ๔ เดือน ในสมัยรัชกาลที่ ๑ และปีละ ๓ เดือนในสมัยรัชกาลที่ ๒
เลกสมเจ้าเมืองกรมการเมือง 
คือราษฎรที่เป็นไพร่สมของเจ้าเมืองกรมการเมืองอาจเป็นไพร่สมที่ติดตัวมาก่อนเป็นเจ้าเมืองกรมการเมือง หรือได้รับพระราชทานพร้อมกับตำแหน่งด้วยก็ได้ ไพร่สมพวกนี้มีหน้าที่คล้ายกับเลกคงเมืองด้วย คือบางเมืองจะแบ่งไว้ทำส่วยส่งเป็นรายปี บางพวกไว้ใช้งานทั่วไม่เกณฑ์เก็บส่วย บางเมืองมีเลกคงเมืองน้อย ก็ใช้เลกสมเหล่านี้ทำหน้าที่แทนเลกคงเมือง เช่นเฝ้าฉางหลวง รักษาโรงปืนหลวง รักษาด่าน เป็นต้น
เลกเข้าเดือน
เป็นพวกไพร่หลวงมีหน้าที่ทำงานให้เมืองของตนหรือถูกเรียกไปทำงานในราชธานีหรือหัวเมืองอื่นก็ได้ โดยรัฐเรียกเกณฑ์เดือนเว้นเดือน ถ้ามาเข้าเดือนไม่ได้ให้ส่งเงินมาแทน ถ้าหาเงินมาให้ไม่ได้ด้วยเหตุใดก็ตาม ให้เจ้าหมู่นายหมวดรับผิดชอบส่งเงินแทนเลกเข้าเดือน บางครั้งทางราชการเรียกเกณฑ์ส่วยเป็นกรณีพิเศษได้เช่น ให้ตัดไม้ส่งไปราชธานี เพื่อใช้สร้างพระปรางค์ ปราสาท ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นต้น
เลกกองนอก
คือเลกที่ตั้งบ้านเรือนอยู่นอกราชธานี จะขึ้นสังกัดมูลนายในราชธานีหัวเมืองก็ได้ มีทั้งไพร่สมและไพร่หลวง เลกกองนอกมีชื่อแยกย่อยลงไปอีกเช่น กองโค กองช้างกองไร่ กองนา กองกระบือ แสดงถึงการทำงานของไพร่พวกนี้ด้วย เช่น กองช้าง มีหน้าทีจัดหาช้างรวบรวมไว้ให้ราชการ กองไร่ กองนา ทำนาทำไร่บนที่ดินหลวงส่งผลผลิตให้ทางราชการ หรือเฝ้าหนองบัว กองโค ทำหน้าที่รวบรวมจัดหาโคและหนังโคมาราชการ เป็นต้น
เลกกองนอกบางพวกมีหน้าที่ทำส่วยส่งรับเป็นรายปี จึงเรียกว่าเลกกองส่วย ซึ่งมีกระจายอยู่ทั่วไปตามหัวเมืองต่าง ๆ ส่วยที่ทำก็มี น้ำรักสำหรับลงรักปิดทอง ครั่ง ไหม ผ้าขาว กระวาน เร่ว ฝาง เสาไม้น่า ทอง ดีบุก กระเบื้อง ส่วยขี้ผึ้ง ฝ้าย นุ่น ป่าน ดินประสิว รง พริกไทย งาช้าง ฯลฯ
เลกกองด่าน
ตามเมืองต่าง ๆ จะมีกองด่านและมีเลกด่านทำหน้าที่ลาดตระเวนตรวจตราเขตแดนทั้งระหว่างระดับเมืองหนึ่งกับอีกเมืองหนึ่งและระหว่างอาณาจักรรัตนโกสินทร์กับประเทศข้างเคียง มีนายกองและขุนหมื่นตำแหน่งต่าง ๆ ควบคุมดูแลขึ้นกับเจ้าเมืองอีกทีหนึ่ง หน้าที่ของเลกกองด่านมิได้มีเฉพาะตรวจตราอย่างเดียว บางครั้งมีหน้าที่ทำส่วยส่งรัฐบาลด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการได้ส่วยและสถานการณ์บ้านเมืองด้วย เช่น เมืองฉะเชิงเทรา สมัยรัชกาลที่ ๓ เมื่อครั้งทำสงครามกับ ลาว เขมร และญวน เมืองฉะเชิงเทราเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญ เลกกองด่านมีหน้าที่ตรวจตราด่านอย่างเข้มงวดอย่างเดียว เมื่อสงครามสิ้นสุดลง หน้าที่ตรวจตราด่านลดลงไป ผู้คนในกองด้านที่มีจำนวนมากจึงเปลี่ยนให้ส่งส่วยแทน เช่น ส่งส่วยเร่วเป็นรายปี หรือถูกเกณฑ์ไปเก็บส่วยเร่วซึ่งมีมากในฤดูนั้นและปีนั้นนอกเหนือจากการส่งประจำรายปีและเมื่อคราวข้าวขาดแคลนเพราะปีก่อน ๆ ทำนาได้น้อยกว่าทุกปี จึงสั่งราษฎรให้ทำนาส่งหลวง ๓ คนต่อ ๑ เกวียน ได้ระบุให้เลกชาวด่านเมืองฉะเชิงเทราทำนาในครั้งนี้ ด้วย
สถานะสตรีในสังคม
สตรีชั้นสูงโดยเฉพาะเจ้านาย มีสิทธิได้ทรงกรมด้วย เช่น สมเด็จฯ กรมพระเทพสุดาวดี สมเด็จฯ กรมพระศรีสุดารักษ์ เป็นต้น ส่วนภรรยาขุนนางข้าราชการมีสถานะไม่ต่างจากสมัยกรุงศรีอยุธยา
หญิงสามัญชนทั่วไป เรียกว่า ไพร่หญิง แบ่งเป็นฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน สังกัดกรมกองเช่นเดียวกับไพร่ชาย การมีสังกัดเพื่อความสะดวกในการแบ่งบุตรให้ขึ้นสังกัดตามบิดาหรือมารดา มากกว่ามีจุดมุ่งหมายจะเกณฑ์แรงงานไพร่หญิง แรงงานของไพร่หญิงส่วนใหญ่เป็นแรงงานให้ประโยชน์ทางอ้อม คือ การทำมาหากิน การทำนาทำไร่ระหว่างที่ชายถูกเกณฑ์แรงงานทำราชการ ภรรยา ญาติ พ่อและแม่ มักเป็นผู้รับภาระส่งเสียไพร่ชายขณะไปทำงานให้รัฐ อย่างไรก็ตามปรากฏหลักฐานว่ามีการใช้แรงงานไพร่หญิงบ้างเหมือนกัน แต่เป็นการใช้แรงงานในหน้าที่เฉพาะอย่าง เช่นงานในพระราชวังเป็นไพร่หลวงห้องเครื่องโขลนโปลิศวิเสทนอก วิเสทใน พิณพาทย์ ไพร่หลวงช่างเย็บ ช่างย้อม ช่างเขียน ช่างมาตรโรงไหม โรงทาน โรงสดึง รักษาสวน ตักน้ำ หามวอ นายประตู ได้รับพระราทานเบี้ยหวัด บ้าง เป็นไพร่หลวงโรงสี ไพร่หญิงตะพุ่นหญ้าช้าง ไพร่หลวงสวนมะลิ ซึ่งมักเป็นหญิงที่สามีหรือบิดาเป็นนักโทษหรือผู้ร้าย ครอบครัวจะถูกสักเป็นไพร่หลวงทำงานหนักดังกล่าว
มีผู้แสดงความเห็นว่า ไพร่ส่วนใหญ่ในสังคมไทยเป็นผู้ชาย มีผู้หญิงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่เป็นไพร่ และ ผู้หญิงทุกคนโดยสถานะเป็นไพร่ จะต่างกับไพร่ชายที่ว่า ไม่ต้องทำราชการประจำมีไพร่บางส่วนเท่านั้นที่ถูกเกณฑ์แรงงาน บางส่วนเท่านั้นที่ถูกสัก ความเป็นไพร่ของหญิงหมายถึงความเป็นราษฏรสามัญที่มีมาแต่กำเนิด ต่างจากหญิงสูงศักดิ์ ในราชวงศ์หรือตระกูลขุนนาง ความเห็นดังกล่าวขัดแย้งกันบ้างแต่ถ้าพิจารณาหลักฐานจากกฎหมายตราสามดวงแล้ว กล่าวได้ว่าหญิงสามัญทุกคนมีสถานะเป็นไพร่ และสังกัดกรมกองมูลนาย เพื่อความสะดวกในการจัดแบ่งบุตรที่เกิดมา ให้ขึ้นสังกัดตามระบบไพร่นั่นเอง
 


                           การเมืองการปกครองสมัยสุโขทัย 
      ลักษณะการปกครอง แบ่งเป็น 2 แบบ คือ 
           1. แบบพ่อปกครองลูก ช่วงต้นสมัยสุโขทัย เรียกผู้นำว่า "พ่อขุน" ปกครองประชาชนด้วยความห่วงใยและมีเมตตา ต่อประชาชน
              เปรียบเสมือนพ่อกับลูก ฐานะของกษัตริย์เป็นปิตุราชา 
           2. แบบธรรมราชา ในช่วงสุโขทัยตอนปลายการปกครองใช้ธรรมะเนื่องจากได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนา กษัตริย์ ดำรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม               โดยประชาชนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน และมีสิทธิเสรีภาพเหมือนกัน เช่น เสรี ภาพในการประกอบอาชีพ

       การจัดระเบียบการปกครองสมัยสุโขทัย 
            1. เมืองหลวง คือ สุโขทัยเป็นศูนย์กลางการปกครอง 
            2. เมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่าน ตั้งอยู่รอบ ๆ เมืองหลวง มี 4 ทิศ โดยมีเชื้อพระวงศ์เป็นผู้ปกครอง มีหน้าที่ สะสมเสบียงอาหาร                และป้องกันข้าศึกศัตรู เมืองหน้าด่านทั้ง 4 ได้แก่ 
                      - ทิศเหนือ คือ ศรีสัชนาลัย 
                      - ทิศใต้ คือ สระหลวง (พิจิตร) 
                      - ทิศตะวันออก คือ สองแคว (พิษณุโลก) 
                       - ทิศตะวันตก คือ ชากังราว (กำแพงเพชร) 
            3. เมืองพระยามหานคร หรือเมืองชั้นนอก เป็นหัวเมืองชั้นนอก มีเจ้าเมืองหรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่ปกครอง 
            4. เมืองประเทศราช เมืองที่อยู่นอกราชอาณาจักรโดยยอมสวามิภักดิ์ต่อสุโขทัย โดยการส่งเครื่องราชบรรณาการให้ และมีเจ้าเมืองเดิมปกครอง


                                                                                                                                                         

การเมืองการปกครองสมัยอยุธยา 
       ลักษณะการปกครอง แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ 
            1. แบบธรรมราชา กษัตริย์ปฏิบัติตามหลักธรรมทางพุทธศาสนา 
            2. แบบเทวราชา กษัตริย์เป็นสมมติเทพ รับอิทธิพลมาจากขอม

       การจัดระเบียบการปกครองสมัยอยุธยา 
          **สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ได้นำรูปแบบการปกครองของสุโขทัยและเขมรมาปรับใช้ โดยแบ่งเป็น 
                     - ราชธานี 
                     - หัวเมืองชั้นใน 
                     - เมืองลูกหลวง 
                     - หัวเมืองชั้นนอก 
                     - เมืองประเทศราช
                 ต่อมาในสมัยพระบรมไตรโลกนาถทรงปรับปรุงการปกครองเพื่อเพิ่มอำนาจให้กับราชธานี                  จึงจัดระเบียบการปกครองใหม่เพื่อรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยแบ่งเป็น
                     - ราชธานี 
                     - หัวเมืองชั้นใน ผู้ปกครองเรียกว่า "ผู้รั้ง" 
                     - หัวเมืองชั้นนอก แบ่งเป็นเอก โท ตรี โดยแบ่งภายในเมืองเป็นการปกครองท้องถิ่น ได้แก่ เมือง(จังหวัด) , แขวง(อำเภอ) , ตำบล , บ้าน 

        การปกครองราชธานี 
            **การปกครองสมัยพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงแบ่งการปกครองเป็น 4 ส่วน เรียกว่า จตุสดมภ์ ได้แก่ 
                     - กรมเมือง ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในราชธานี 
                     - กรมวัง ดูแลเกี่ยวกับกิจการต่าง ๆ ในราชสำนัก และพระราชพิธีต่าง ๆ 
                     - กรมคลัง ดูแลเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้รายจ่ายของพระคลัง 
                     - กรมนา ดูแลเกี่ยวกับนาหลวง การเก็บภาษี และการจัดเก็บข้าวเข้าท้องพระคลัง 
                 การปกครองประเทศจะรวมทหารและพลเรือนเข้าด้วยกันโดยแบ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือ และฝ่ายใต้ 
            **การปกครองสมัยพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูปใหม่เป็น 
                     - กรมเมือง เปลี่ยนเป็น นครบาล 
                     - กรมวัง เปลี่ยนเป็น ธรรมาธิกรณ์ 
                     - กรมคลัง เปลี่ยนเป็น โกษาธิบดี 
                     - กรมนา เปลี่ยนเป็น เกษตราธิบดี 
                  สมัยพระบรมไตรโลกนาถทรงแยกฝ่ายทหารและพลเรือนออกจากกัน โดยตั้งตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ 
                     - สมุหกลาโหม ดูแลเกี่ยวกับการทหาร 
                     - สมุหนายก ดูแลเกี่ยวกับข้าราชการพลเรือน 
                  และยังได้กำหนดกฎหมายขึ้น คือ 
                    - กฎหมายศักดินาทหารและพลเรือน 
                    - กฎมนเทียรบาล เป็นกฎหมายเกี่ยวกับประเพณีใน ราชสำนัก

การปกครองสมัยกรุงธนบุรี และรัตนโกสินทร์ 
        ลักษณะการปกครองคล้ายกับสมัยอยุธยา มีการควบคุมไพร่เข้มงวดขึ้น โดยมีการสักข้อมือไพร่ จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อได้รับอิทธิพลของชาวตะวันตกเริ่มเปลี่ยนแปลง โดยศึกษาความรู้ต่าง ๆ จากชาติตะวันตกจนกระทั่ง ถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ ๆ ดังนี้ 
              1. ให้สิทธิและเสรีภาพในการนับถือศาสนา
              2. อนุญาตให้เข้าเฝ้าในเวลาเสด็จพระราชดำเนิน 
              3. ออกกฎหมายประกาศรับฎีกาของประชาชนในทุกวันโกน 
              4. ให้สิทธิสตรีมีโอกาสทางด้านการศึกษา และการสมรส 
              5. ให้เสรีภาพในการประกอบอาชีพของประชาชน
        การพัฒนาประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 
              1. การเลิกทาสและไพร่ 
              2. การปฏิรูปทางการศึกษา 
              3. มีการจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ เพื่อจัดเก็บภาษีอากร 
              4. จัดทำงบประมาณรายได้และรายจ่ายของแผ่นดิน 
              5. การสร้างทางรถไฟเพื่อการขนส่ง 
              6. ปฏิรูปการปกครองแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ 
              7. จัดตั้งกระทรวงยุติธรรม 
              8. ออกพระราชบัญญัติการเลือกตั้งกำนันและผู้ใหญ่บ้าน 
              9. ตั้งสุขาภิบาลตามหัวเมืองต่าง ๆ 
        การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 
              1. ทรงจัดตั้งสภาที่ปรึกษากษัตริย์ 2 สภา คือ รัฐมนตรีสภา และองคมนตรีสภา 
              2. ทรงจัดระเบียบการบริหารราชการในราชธานีใหม่โดยยกเลิกจตุสดมถ์ สมุหนายก และสมุหกลาโหม 
                 และจัดตั้งหน่วยงานเป็นกระทรวง 12 กระทรวง แต่ละกระทรวงมีเสนาบดีเป็นผู้รับผิดชอบ ได้แก่ 
                       1. กระทรวงมหาดไทย ดูแลเกี่ยวกับการปกครองหัวเมือง 
                       2. กระทรวงกลาโหม ดูแลเกี่ยวกิจการทหารและหัวเมืองฝ่ายใต้ 
                       3. กระทรวงยุทธนาธิการ ดูแลเกี่ยวกับเรื่องการต่างประเทศ 
                      4. กระทรวงวัง ดูแลเกี่ยวกับพระราชวัง 
                       5. กระทรวงนครบาล ดูแลเกี่ยวกับกิจการตำรวจและราชทัณฑ์ 
                       6. กระทรวงเกษตราธิราช ดูแลเกี่ยวกับการเพาะปลูก ค้าขาย ป่าไม้ เหมืองแร่ 
                       7. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ดูแลเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากร งบประมาณแผ่นดิน การคลัง 
                       8. กระทรวงยุติธรรม ดูแลเกี่ยวกับการศาล ชำระความทั้งแพ่งและอาญา 
                       9. กระทรวงยุทธนาธิการ ดูแลจัดการเกี่ยวกับการทหาร 
                      10. กระทรวงโยธาธิการ ดูแลเกี่ยวกับการก่อสร้าง ขุดคลอง ไปรษณีย์ โทรเลข รถไฟ 
                      11. กระทรวงธรรมการ ดูแลเกี่ยวการศึกษาและศาสนา 
                      12. กระทรวงมุรธาธิการ ดูแลเกี่ยวกับพระราชสัญจกร พระราชกำหนดกฎหมาย หนังสือราชการ
         การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค 
                - มณฑลเทศาภิบาล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผผู้ปกครอง 
                - ในแต่ละมณฑลประกอบด้วย เมือง อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ตามลำดับ โดยประชาชนเลือกตั้งกำนัน และผู้ใหญ่ บ้านเอง 
         การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นตนเอง 
                - ตั้งสุขาภิบาลแห่งแรก คือ สุขาภิบาลกรุงเทพฯ 
                - ตั้งสุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรก คือ ตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรปราการ

         การปรับปรุงระเบียบบริหารในสมัยรัชกาลที่ 6 
               1. ทรงยกโรงเรียนราชการพลเรือนเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
               2. ประกาศพระราชบัญญัติประถมศึกษา 
               3. ตั้งดุสิตธานี นครจำลองเพื่อการปกครองแบบประชาธิปไตย 
               4. ให้เสรีภาพหนังสือพิมพ์วิจารณ์รัฐบาล 
               5. เปลี่ยนการเรียกชื่อเมืองเป็นจังหวัด 

         การเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 7 
               การปกครองของไทยสมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 7 เป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และภายหลังจาก เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในสมัยรัชกาลที่ 7 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เป็นสาเหตุให้ เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย โดย คณะราษฎร์ นำโดยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร และหลวงประดิษฐ์มนูธรรม(นาย ปรีดี พนมยงค์) เป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน 

              หลักการสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 
                     1. อำนาจอธิปไตย เป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ
                     2. รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ 
                     3. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ ทรงใช้อำนาจอธิปไตยตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ 
                              - ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา หรือสภาผู้แทนราษฎร 
                              - ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี 
                              - ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล 
              หลักการปกครองของคณะราษฎร 
                     1. รักษาความเป็นเอกราช 
                     2. รักษาความปลอดภัยของประเทศ 
                     3. พัฒนาเศรษฐกิจให้ราษฎรกินดีอยู่ดี 
                     4. ให้ประชาชนมีความเสมอภาค เท่าเทียมกัน 
                     5. ให้ประชาชนมีเสรีภาพ 
                     6. ให้ประชาชนมีการศึกษา 
              การเมืองการปกครองของไทยยังขาดเสถียรภาพ มีสาเหตุเนื่องมาจาก 
                     1. มีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญบ่อย ทำให้การพัฒนาไม่ต่อเนื่อง 
                     2. มีการเปลี่ยนโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาบ่อยครั้ง 
                     3. มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล และคณะรัฐมนตรีบ่อยครั้ง 
                     4. เกิดปัญหาพรรคการเมืองไทย เช่น พรรคการเมืองมากเกินไป ขาดอุดมการณ์ ขาดระเบียบวินัย เป็นต้น